มหัศจรรย์งานศิลป์ ดินแดนแห่งความสุข “วังน้ำเขียวฟลอร่าแฟนตาเซีย”
20 ธันวาคม 2553 – 28 กุมภาพันธ์ 2554
ณ บริเวณแยกวัดโพธิ์เฉลิมพระเกียรติ
อำเภอวังน้ำเขียว นครราชสีมา
สมาคม พืชสวนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สนับสนุนการประชาสัมพันธ์โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานนครราชสีมา จัดงานสีสันแห่งความสุข “Wangnamkeaw Flora Fantasia” วังน้ำเขียว ฟลอร่าแฟนตาเซีย มหัศจรรย์งานศิลป์ ดินแดนแห่งความสุข ในระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2553 – 28 กุมภาพันธ์ 2554 ณ บริเวณแยกวัดโพธิ์เฉลิมพระเกียรติ(ทางหลวงหมายเลข 3052 วังน้ำเขียว – เขาแผงม้า กิโลเมตรที่ 9) ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
นายอรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานนครราชสีมา เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม อากาศที่สุดบริสุทธิ์ เป็นที่กล่าวขานของสุขภาพนิยม กับอีกหนึ่งสีสันของเทศกาลความสุขที่เกิดขึ้น ตลอด 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว ในวันที่ฟ้าสดใส อากาศที่เย็นสบาย เราขอนำเสนอเทศกาล ที่น่าสนใจและถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ควรค่าแก่การเดินทางท่องเที่ยวยิ่ง นัก…”วังน้ำเขียว ฟลอร่าแฟนตาเซีย” มหัศจรรย์งานศิลป์ ดินแดนแห่งความสุข
เริ่ม ต้นด้วยการเนรมิตศิลปะกลางหุบเขา ให้เป็นสวนจิตรกรรมธรรมชาติท่ามกลางขุนเขาและสายหมอก มหกรรมการแสดงดอกไม้คู่กับงานศิลปะที่งดงามไม่แพ้มหกรรมดอกไม้ใดๆ ที่จัดขึ้นในโลกนี้ สุดยอดความสวยงามของมวลดอกไม้หลากหลายบนเนื้อที่กว่า 60 ไร่ สวนจิตรกรรมธรรมชาติเทคนิค Vertical Garden โดยร่วมกับศิลปินชั้นนำ จำลองภาพอลังการดุจภาพวาดจากปลายพู่กันและถังสีขนาดยักษ์ ด้วยเขาวงกตดอกไม้กว่า 200,000 กระถาง ดอกไม้ปลูกและหว่านกว่าล้านเมล็ด จุดชมวิวและถ่ายภาพมุมสูง และที่สำคัญรายได้จากบัตรเข้าชมหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ร่วมสร้างอาคารภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 สภากาชาดไทย
สอบถามเพิ่มเติมและซื้อบัตรได้ที่
- ช่องทางการจำหน่ายบัตรจองบัตรได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส และเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา,ไทยทิคเก็ตเมเจอร์,จุดจำหน่ายบัตร (TTM Outlet) 13 แห่ง ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ,โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ และอีจีวีเว็บไซต์ www.thaiticketmajor.com TTM Call Center 0-2262-3456
-ไปรษณีย์ไทย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล/
- Call Center วังน้ำเขียว ฟลอร่า แฟนตาเซีย โทร. 08-2134-4797, 08-2134-4135, 0-2187-0295 – 6 www.wangnamkeawflora.com
-ททท.สำนักงานนครราชสีมา โทรศัพท์ 0-4421-3666 / 0-4421-3030 www.tourismthailand.org/nakhonratchasima
E – Mail : tatsima@tat.or.th
ข้อมูลเพิ่มเติม www.wangnamkeawflora.com
News Event Travel photography Place Leisure Food accommodation บันทึกทั่วไปของ sorawich เอ้ ช่างภาพ
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
พื้นที่นี้..ดีจัง ณ แพร่งภูธร
แผน งานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือกับชุมชนแพร่งภูธร กลุ่มรักยิ้ม กลุ่มดินสอสี และภาคีพื้นที่สร้าง สรรค์ทั่วไทย จัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ "พื้นที่นี้..ดีจัง ณ แพร่งภูธร" เสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 ธันวาคมนี้ ให้เด็กๆ ครอบครัว และคนรุ่นใหม่ได้ไปอิ่มยิ้มกันที่ย่านสามแพร่ง
จาก ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัย 12-19 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล สามารถเดินถึงร้านเหล้าได้ใน 7 นาที ไปร้านเกมและแหล่งพนันได้ภายใน 15 นาที เข้าถึงซีดีลามกและสถานบันเทิงได้ใน 30 นาที
"สสย.จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายรณรงค์ให้เกิดพื้นที่ดี และ กิจกรรมสร้างสรรค์ ด้วยแนวคิด ′เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน′ ภายใต้ชื่อปฏิบัติการ ′พื้นที่นี้..ดีจัง′ เพื่อ เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนประเทศไทยให้น่าอยู่ จากพื้นที่สร้างสรรค์เล็กๆ ที่เด็กและเยาวชนเป็นเจ้าของ" เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการ สสย. ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
ใน งานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ "พื้นที่นี้..ดีจัง ณ แพร่งภูธร" ครั้งนี้ เริ่มต้นเวลา 14.00 น. ด้วยกิจกรรม "เดินชุมชน เยือนสามแพร่ง" โดยมีเยาวชนแพร่งภูธรร่วมเป็นไกด์อาสาร่วมกับกลุ่มรักยิ้ม อาสาสมัครนักเรียนมัธยมโรงเรียนรอบๆ ย่านแพร่ง โดยมีวิทยากรจากชมรมสยามทัศน์ มาให้ความรู้ เล่าเรื่องราว ตำนาน ความเป็นมา พร้อมด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสนุกสนานไม่รู้เบื่อ
"สาม แพร่ง" อยู่ใกล้เสาชิงช้า ติดกับคลองคูเมือง (คลองหลอด) แต่เดิมเคยเป็นที่ประทับของเจ้านายยุคกลางรัตนโกสินทร์ แพร่งแรกเรียกว่า แพร่งภูธร อดีตเป็นวังริมสะพานช้างโรงสีเหนือ ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่าวังเหนือ ที่ประทับของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์"
"แพร่ง นรา" เป็นเขตพระราชฐานเก่าของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์" มีโรงละครปรีดาลัยตั้งอยู่ในตำหนัก ปัจจุบันเป็นอาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษาที่ปิดไปแล้ว แต่ตัวอาคารที่มีลวดลายฉลุงดงามนั้นยังคงอยู่ตามเดิม
"แพร่ง สรรพสาสตร์" เป็นที่ประทับของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพ สาสตร์ศุภกิจ" ปัจจุบันยังเห็นซุ้มประตูวังนี้ได้ที่ริมถนนตะนาว บริเวณโดยรอบของสามแพร่งยังมีสถานที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น ศาลเจ้าพ่อเสือ วัดมหรรณพาราม ฯลฯ
นอก จากนี้ สามแพร่งยังถือว่าเป็นแหล่งของกินที่มีชื่อเสียงมายาวนาน เต็มไปด้วยร้านอาหาร ขนมต้นตำรับ สูตรลับทีเด็ด นับตั้งแต่ ร้านบะหมี่แพร่งภูธร ร้านก๋วย เตี๋ยวเนื้อกิมทอง เกาเหลาสมองหมูไทยทำ ร้านข้าวหมูแดงอุดมโภช นา ขนมเบื้องแพร่งนรา ร้านเดิมสูตรชาววัง สารพัดข้าวเหนียวมูนร้าน ก.พานิช ซ่าหริ่มเลิศรสร้านชูถิ่น ปาท่องโก๋เสวย ร้านไอศกรีมนัฐพร ถือเป็นเส้นทางอร่อยที่นักชิมยกนิ้วให้มาหลายชั่วคน
ใน เวลา 4 โมงเย็นแดดร่มลมตก ที่ลานภูธเรศ และถนนโดยรอบจะเนรมิตเป็นลานกิจกรรรมพื้นที่สร้างสรรค์ พบกับซุ้มกิจกรรม "พื้นที่นี้..ดีจัง ทั่วไทย" ให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ใช้เวลาสานสัมพันธ์ครอบครัว แสดงออกซึ่งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้วิถีชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้านครบทั้ง 4 ภาค
ภาค เหนือ เป็นซุ้มกิจกรรมธรรมชาติของเด็กๆ ปกาเกอญอจากป่าสนวัดจันทร์ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ชวนทำดอกไม้จากลูกและเปลือกสน สายสร้อยจากเมล็ดพันธุ์ เรียนรู้วิถีชนเผ่าที่ผูกพันแนบแน่นกับป่าเขา ภาคใต้เป็นการละเล่นพื้นบ้านสนุกๆ เดินทองโย่ง เดินกะลา กิจกรรมทำมือกับการร้อยลูกปัดโนราหลากสีสัน
ซุ้ม ธารศิลป์ถิ่นเพชรของกลุ่มลูกหว้าจากจ.เพชรบุรี เป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนรู้จากครูช่างสิบหมู่ของท้องถิ่น นำมาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมศิลปะแบบมีส่วนร่วมที่ให้ทั้งความเพลิดเพลิน ความรู้ และผลงานสวยงามติดไม้ติดมือกลับบ้านไป มีกิจกรรมที่น่าสนใจ สนุกได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก คือ มหัศจรรย์พวงมโหตร ตอกกระดาษลาย 12 นักษัตร ใบตาลสานสนุก ลูกยอดหลากสี จิตรกรรมไทยบนแผ่นกระดาษ
ภาคอีสาน มีกลุ่มเยาวชนจากบ้านดงบัง จังหวัดมหาสารคาม นำฮูปแต้ม (ภาพผนังโบสถ์) เรื่องสินไซ มาให้เด็กๆ ตอกตัวหนัง ทำพวงกุญแจ
จาก ภูมิภาคมาถึงซุ้มของเด็กเมืองหลวง เริ่มจากตุ๊กตาต้นไม้ จากใจเยาวชนแพร่งภูธร กระเป๋าดินสอใส่รัก สมุดทำมือสื่อหัวใจ เข็มกลัดแบบเดียวในโลก โดยกลุ่มรักยิ้ม ที่โดดเด่นแปลกใหม่ไม่ธรรมดา ได้แก่ FOTOMO ถ่ายภาพกับโมเดลชุมชน
อาจารย์ กรินทร์ กลิ่นขจร เจ้าของไอเดียจากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทค โนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง ให้รายละเอียดว่า โฟโตโม (Fotomo = Foto + Model) คือการทำแบบจำลองด้วยภาพถ่าย โดยเป็นการนำเอาภาพถ่ายของฉากในโลกความจริงมาตัด จัดวางและประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพตัดแปะสามมิติ
โดยเทคนิคนี้ คิมิโอะ อิโตซากิ (Kimio Itozaki) นัก ถ่ายภาพชาวญี่ปุ่นผู้มีมุมมองอันเป็นเอกลักษณ์ ว่าด้วยชีวิตและศิลปะเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของแบบฝึกหัดเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสัมผัสชีวิต ผู้คนและสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ มองให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้คนในชีวิตประจำวัน เก็บข้อมูล เรียนรู้ และถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนเข้าใจได้
นอก จากกิจกรรมในซุ้มต่างๆ ยังมีการแสดงหรรษาสำหรับทุกวัย โดยวันเสาร์จะรวมการแสดงหุ่นเกือบทุกประเภทในเมืองไทยมาไว้ที่แพร่งภูธร ได้แก่ หุ่นมือของคณะแต้มฝัน หุ่นสายสื่อผสมเรื่อง วาวา เด็กหญิงเมล็ดข้าว โดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร หุ่นคนโดยคณะแม่เพทายจากเพชรบุรี หุ่นละครเล็กคณะคำนาย บ้านศิลปินคลองบางหลวง และหุ่นเงาหนังบักตื้อตะลุงอีสาน ฝีมือการแสดงประกอบหมอลำของเด็กๆ คณะเพชรอีสาน
ส่วน อาทิตย์ มีการอ่านนิทาน 3 ดี ประกอบการแสดง 3 แบบ โดย น้ำผึ้ง-ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ พอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ละครนิทานยายกับตาปลูกถั่วปลูกงา โดยกลุ่มกะปุ๊กลุก ละครชาตรีเรื่องสังข์ทองจากเด็กๆ บ้านบางแก้ว เพชรบุรี สนุกทั้ง 2 วัน
ขณะ ที่ผู้รักในเสียงดนตรีก็มีบทเพลงสร้างสรรค์จากศิลปินที่ชื่นชอบมาบรรเลงให้ ฟังในบรรยากาศอบอุ่น ล้อมวงฟังเป็นกันเอง ไม่ว่าจะเป็น โฮปแฟมิลี่ พร้อมบทเพลง "ยิ้มของแผ่นดิน" เพลงประจำโครงการพื้นที่นี้..ดีจัง ช่วงเวลาพิเศษ "คิดถึงสองวัย" กับฟุตปาธแฟมิลี่ เตหน่า และมิตร โดยศิลปินจากขุนเขา ชิ สุวิชาน เจี๊ยบ-วรรธนา วีรยะวรรธน เจ้าของบทเพลง "เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม" มากับมินิคอนเสิร์ต "วัน เดือน ปี ดีจัง" อะคูสติก กลางแจ้งลานแพร่งภูธรครั้งแรกของ ธีร์ ไชยเดช และเต็มวงกับ PARADOX
เรียก ได้ว่าเป็นพื้นที่สร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบสำหรับคนทุกวัยที่ไม่ควรพลาดด้วย ประการทั้งปวง เสาร์อาทิตย์ที่ 18-19 ธ.ค.นี้ "พื้นที่นี้..ดีจัง" ที่ลานกลางแจ้งแพร่งภูธร ใกล้เสาชิงช้า จอดรถได้ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ผู้ สนใจเดินชุมชน เยือนสามแพร่ง กรุณาติดต่อลงทะเบียนล่วงหน้าเพราะรับจำนวนจำกัด หรือสนใจสอบถามรายละเอียดการเดินทางและกำหนดการเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มดินสอสี โทร. 0-2623-2838-9 หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) พื้นที่นี้...ดีจัง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
จาก ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัย 12-19 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล สามารถเดินถึงร้านเหล้าได้ใน 7 นาที ไปร้านเกมและแหล่งพนันได้ภายใน 15 นาที เข้าถึงซีดีลามกและสถานบันเทิงได้ใน 30 นาที
"สสย.จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายรณรงค์ให้เกิดพื้นที่ดี และ กิจกรรมสร้างสรรค์ ด้วยแนวคิด ′เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน′ ภายใต้ชื่อปฏิบัติการ ′พื้นที่นี้..ดีจัง′ เพื่อ เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนประเทศไทยให้น่าอยู่ จากพื้นที่สร้างสรรค์เล็กๆ ที่เด็กและเยาวชนเป็นเจ้าของ" เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการ สสย. ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
ใน งานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ "พื้นที่นี้..ดีจัง ณ แพร่งภูธร" ครั้งนี้ เริ่มต้นเวลา 14.00 น. ด้วยกิจกรรม "เดินชุมชน เยือนสามแพร่ง" โดยมีเยาวชนแพร่งภูธรร่วมเป็นไกด์อาสาร่วมกับกลุ่มรักยิ้ม อาสาสมัครนักเรียนมัธยมโรงเรียนรอบๆ ย่านแพร่ง โดยมีวิทยากรจากชมรมสยามทัศน์ มาให้ความรู้ เล่าเรื่องราว ตำนาน ความเป็นมา พร้อมด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสนุกสนานไม่รู้เบื่อ
"สาม แพร่ง" อยู่ใกล้เสาชิงช้า ติดกับคลองคูเมือง (คลองหลอด) แต่เดิมเคยเป็นที่ประทับของเจ้านายยุคกลางรัตนโกสินทร์ แพร่งแรกเรียกว่า แพร่งภูธร อดีตเป็นวังริมสะพานช้างโรงสีเหนือ ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่าวังเหนือ ที่ประทับของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์"
"แพร่ง นรา" เป็นเขตพระราชฐานเก่าของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์" มีโรงละครปรีดาลัยตั้งอยู่ในตำหนัก ปัจจุบันเป็นอาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษาที่ปิดไปแล้ว แต่ตัวอาคารที่มีลวดลายฉลุงดงามนั้นยังคงอยู่ตามเดิม
"แพร่ง สรรพสาสตร์" เป็นที่ประทับของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพ สาสตร์ศุภกิจ" ปัจจุบันยังเห็นซุ้มประตูวังนี้ได้ที่ริมถนนตะนาว บริเวณโดยรอบของสามแพร่งยังมีสถานที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น ศาลเจ้าพ่อเสือ วัดมหรรณพาราม ฯลฯ
นอก จากนี้ สามแพร่งยังถือว่าเป็นแหล่งของกินที่มีชื่อเสียงมายาวนาน เต็มไปด้วยร้านอาหาร ขนมต้นตำรับ สูตรลับทีเด็ด นับตั้งแต่ ร้านบะหมี่แพร่งภูธร ร้านก๋วย เตี๋ยวเนื้อกิมทอง เกาเหลาสมองหมูไทยทำ ร้านข้าวหมูแดงอุดมโภช นา ขนมเบื้องแพร่งนรา ร้านเดิมสูตรชาววัง สารพัดข้าวเหนียวมูนร้าน ก.พานิช ซ่าหริ่มเลิศรสร้านชูถิ่น ปาท่องโก๋เสวย ร้านไอศกรีมนัฐพร ถือเป็นเส้นทางอร่อยที่นักชิมยกนิ้วให้มาหลายชั่วคน
ใน เวลา 4 โมงเย็นแดดร่มลมตก ที่ลานภูธเรศ และถนนโดยรอบจะเนรมิตเป็นลานกิจกรรรมพื้นที่สร้างสรรค์ พบกับซุ้มกิจกรรม "พื้นที่นี้..ดีจัง ทั่วไทย" ให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ใช้เวลาสานสัมพันธ์ครอบครัว แสดงออกซึ่งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้วิถีชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้านครบทั้ง 4 ภาค
ภาค เหนือ เป็นซุ้มกิจกรรมธรรมชาติของเด็กๆ ปกาเกอญอจากป่าสนวัดจันทร์ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ชวนทำดอกไม้จากลูกและเปลือกสน สายสร้อยจากเมล็ดพันธุ์ เรียนรู้วิถีชนเผ่าที่ผูกพันแนบแน่นกับป่าเขา ภาคใต้เป็นการละเล่นพื้นบ้านสนุกๆ เดินทองโย่ง เดินกะลา กิจกรรมทำมือกับการร้อยลูกปัดโนราหลากสีสัน
ซุ้ม ธารศิลป์ถิ่นเพชรของกลุ่มลูกหว้าจากจ.เพชรบุรี เป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนรู้จากครูช่างสิบหมู่ของท้องถิ่น นำมาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมศิลปะแบบมีส่วนร่วมที่ให้ทั้งความเพลิดเพลิน ความรู้ และผลงานสวยงามติดไม้ติดมือกลับบ้านไป มีกิจกรรมที่น่าสนใจ สนุกได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก คือ มหัศจรรย์พวงมโหตร ตอกกระดาษลาย 12 นักษัตร ใบตาลสานสนุก ลูกยอดหลากสี จิตรกรรมไทยบนแผ่นกระดาษ
ภาคอีสาน มีกลุ่มเยาวชนจากบ้านดงบัง จังหวัดมหาสารคาม นำฮูปแต้ม (ภาพผนังโบสถ์) เรื่องสินไซ มาให้เด็กๆ ตอกตัวหนัง ทำพวงกุญแจ
จาก ภูมิภาคมาถึงซุ้มของเด็กเมืองหลวง เริ่มจากตุ๊กตาต้นไม้ จากใจเยาวชนแพร่งภูธร กระเป๋าดินสอใส่รัก สมุดทำมือสื่อหัวใจ เข็มกลัดแบบเดียวในโลก โดยกลุ่มรักยิ้ม ที่โดดเด่นแปลกใหม่ไม่ธรรมดา ได้แก่ FOTOMO ถ่ายภาพกับโมเดลชุมชน
อาจารย์ กรินทร์ กลิ่นขจร เจ้าของไอเดียจากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทค โนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง ให้รายละเอียดว่า โฟโตโม (Fotomo = Foto + Model) คือการทำแบบจำลองด้วยภาพถ่าย โดยเป็นการนำเอาภาพถ่ายของฉากในโลกความจริงมาตัด จัดวางและประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพตัดแปะสามมิติ
โดยเทคนิคนี้ คิมิโอะ อิโตซากิ (Kimio Itozaki) นัก ถ่ายภาพชาวญี่ปุ่นผู้มีมุมมองอันเป็นเอกลักษณ์ ว่าด้วยชีวิตและศิลปะเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของแบบฝึกหัดเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสัมผัสชีวิต ผู้คนและสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ มองให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้คนในชีวิตประจำวัน เก็บข้อมูล เรียนรู้ และถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนเข้าใจได้
นอก จากกิจกรรมในซุ้มต่างๆ ยังมีการแสดงหรรษาสำหรับทุกวัย โดยวันเสาร์จะรวมการแสดงหุ่นเกือบทุกประเภทในเมืองไทยมาไว้ที่แพร่งภูธร ได้แก่ หุ่นมือของคณะแต้มฝัน หุ่นสายสื่อผสมเรื่อง วาวา เด็กหญิงเมล็ดข้าว โดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร หุ่นคนโดยคณะแม่เพทายจากเพชรบุรี หุ่นละครเล็กคณะคำนาย บ้านศิลปินคลองบางหลวง และหุ่นเงาหนังบักตื้อตะลุงอีสาน ฝีมือการแสดงประกอบหมอลำของเด็กๆ คณะเพชรอีสาน
ส่วน อาทิตย์ มีการอ่านนิทาน 3 ดี ประกอบการแสดง 3 แบบ โดย น้ำผึ้ง-ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ พอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ละครนิทานยายกับตาปลูกถั่วปลูกงา โดยกลุ่มกะปุ๊กลุก ละครชาตรีเรื่องสังข์ทองจากเด็กๆ บ้านบางแก้ว เพชรบุรี สนุกทั้ง 2 วัน
ขณะ ที่ผู้รักในเสียงดนตรีก็มีบทเพลงสร้างสรรค์จากศิลปินที่ชื่นชอบมาบรรเลงให้ ฟังในบรรยากาศอบอุ่น ล้อมวงฟังเป็นกันเอง ไม่ว่าจะเป็น โฮปแฟมิลี่ พร้อมบทเพลง "ยิ้มของแผ่นดิน" เพลงประจำโครงการพื้นที่นี้..ดีจัง ช่วงเวลาพิเศษ "คิดถึงสองวัย" กับฟุตปาธแฟมิลี่ เตหน่า และมิตร โดยศิลปินจากขุนเขา ชิ สุวิชาน เจี๊ยบ-วรรธนา วีรยะวรรธน เจ้าของบทเพลง "เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม" มากับมินิคอนเสิร์ต "วัน เดือน ปี ดีจัง" อะคูสติก กลางแจ้งลานแพร่งภูธรครั้งแรกของ ธีร์ ไชยเดช และเต็มวงกับ PARADOX
เรียก ได้ว่าเป็นพื้นที่สร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบสำหรับคนทุกวัยที่ไม่ควรพลาดด้วย ประการทั้งปวง เสาร์อาทิตย์ที่ 18-19 ธ.ค.นี้ "พื้นที่นี้..ดีจัง" ที่ลานกลางแจ้งแพร่งภูธร ใกล้เสาชิงช้า จอดรถได้ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ผู้ สนใจเดินชุมชน เยือนสามแพร่ง กรุณาติดต่อลงทะเบียนล่วงหน้าเพราะรับจำนวนจำกัด หรือสนใจสอบถามรายละเอียดการเดินทางและกำหนดการเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มดินสอสี โทร. 0-2623-2838-9 หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) พื้นที่นี้...ดีจัง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553
งาน ช้อป-ชิม-ชม 5ปี สายใยรักแห่งครอบครัว
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และด้วยพระปณิธานอันมุ่งมั่นในการสานต่อโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นับตั้งแต่เกิด “โครงการสายใยรักจากแม่...สู่ลูก” เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา และได้พัฒนาสู่ “โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว”
เนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระ องค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และครบ 5 ปีของการก่อตั้ง โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในวันที่ 9 ธ.ค. พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ 10 ภาคีเครือข่าย จัดงาน “5 ปีสายใยรักแห่งครอบครัว” ระหว่างวันที่ 7-12 ธ.ค. ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 7-8
เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระ องค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
งาน “5 ปีสายใยรักแห่งครอบครัว” จัดขึ้นภายใต้แนวคิดสร้างความรัก :เริ่มต้นจากนมแม่ การเลี้ยงลูกอย่างถูกวิธี และความเข้าใจซึ่งกันในครอบครัว, ด้วยการเรียนรู้ : การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทรัพย์ปัญญา, พัฒนาความเป็นอยู่ : พัฒนาอาชีพตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง สร้างสุขภาพ สุขอนามัยในครัวเรือน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน, สู่ครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็งอย่างยั่งยืน : สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง เมืองเข้มแข็ง ประเทศชาติเจริญ
สำหรับกิจกรรมและรูปแบบการจัดงาน ประกอบด้วย
“ช้อป” ตลาดนัดสายใยรักแห่งครอบครัว ร้านจากพันธมิตรโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและร้านค้ากลุ่มแม่บ้านที่ประสบ ภัย (น้ำท่วม) กว่า 500 ร้านค้า,
“ชิม” ครัวสายใยรักแห่งครอบครัว พบกับหลากหลายเมนูอร่อยจากทั่วประเทศที่นำมาให้ลิ้มลองชิมรสกันอย่างจุใจ และ
“ชม” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ, นิทรรศการแสดงผลงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว, นิทรรศการวงจรแห่งชีวิต พลังแห่งสายใยรัก, ตลาดพื้นบ้าน, กิจกรรมสาระและความบันเทิงครบครัน เป็นต้น.
--------------
ผมแวะไปดูมา งานน่าสนใจ มีการแสดงเวที ดนตรี วัฒนธรรมแต่ละภาค
ตลาดพื้นบ้านบรรยากาศย้อนยุคเหมือนกับไปอยู่ในต่างจังหวัด
อาหารมากมาย ของน่าใช้ไม่น้อย ไปเดินงานรถแล้วอย่าลืมแวะมาอีกฝั่ง
ข้าง ๆ มีงานเทศกาล ให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 และ งานของขวัญ งานแสดงสินค้าเทศกาล ต้อนรับปีใหม่ 2554 ของขายเยอะมาก ๆ
คิดว่าถ้าว่างจะไปเดินดูอีกสักวัน
เนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระ องค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และครบ 5 ปีของการก่อตั้ง โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในวันที่ 9 ธ.ค. พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ 10 ภาคีเครือข่าย จัดงาน “5 ปีสายใยรักแห่งครอบครัว” ระหว่างวันที่ 7-12 ธ.ค. ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 7-8
เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระ องค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
งาน “5 ปีสายใยรักแห่งครอบครัว” จัดขึ้นภายใต้แนวคิดสร้างความรัก :เริ่มต้นจากนมแม่ การเลี้ยงลูกอย่างถูกวิธี และความเข้าใจซึ่งกันในครอบครัว, ด้วยการเรียนรู้ : การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทรัพย์ปัญญา, พัฒนาความเป็นอยู่ : พัฒนาอาชีพตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง สร้างสุขภาพ สุขอนามัยในครัวเรือน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน, สู่ครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็งอย่างยั่งยืน : สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง เมืองเข้มแข็ง ประเทศชาติเจริญ
สำหรับกิจกรรมและรูปแบบการจัดงาน ประกอบด้วย
“ช้อป” ตลาดนัดสายใยรักแห่งครอบครัว ร้านจากพันธมิตรโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและร้านค้ากลุ่มแม่บ้านที่ประสบ ภัย (น้ำท่วม) กว่า 500 ร้านค้า,
“ชิม” ครัวสายใยรักแห่งครอบครัว พบกับหลากหลายเมนูอร่อยจากทั่วประเทศที่นำมาให้ลิ้มลองชิมรสกันอย่างจุใจ และ
“ชม” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ, นิทรรศการแสดงผลงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว, นิทรรศการวงจรแห่งชีวิต พลังแห่งสายใยรัก, ตลาดพื้นบ้าน, กิจกรรมสาระและความบันเทิงครบครัน เป็นต้น.
--------------
ผมแวะไปดูมา งานน่าสนใจ มีการแสดงเวที ดนตรี วัฒนธรรมแต่ละภาค
ตลาดพื้นบ้านบรรยากาศย้อนยุคเหมือนกับไปอยู่ในต่างจังหวัด
อาหารมากมาย ของน่าใช้ไม่น้อย ไปเดินงานรถแล้วอย่าลืมแวะมาอีกฝั่ง
ข้าง ๆ มีงานเทศกาล ให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 และ งานของขวัญ งานแสดงสินค้าเทศกาล ต้อนรับปีใหม่ 2554 ของขายเยอะมาก ๆ
คิดว่าถ้าว่างจะไปเดินดูอีกสักวัน
งานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 ปี 2553
ททท. ร่วมกับ มูลนิธิสวนหลวง ร.9 กำหนดจัด “งานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9″ ครั้งที่ 23
ระหว่างวันพุธที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2553
เวลา 8.00 – 19.00 น.
จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสวันเฉลิม พระชนพรรษา ภายในงานจัดให้มีการแสดงไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายสายพันธุ์ นิทรรศการประวัติสวนหลวง ร.9 นิทรรศการศิลปะประดิษฐ์ เช่น พวงมาลัย ภาชนะที่สานด้วยใบตองกระทง จำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์จัดสวน การแสดงความสามารถของสุนัข การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาค พยากรณ์โชคชะตา สวนสนุก การแสดงดอกไม้ไฟโบราณ จำหน่ายสินค้าของที่ระลึกมูลนิธิฯ ร้านสายใจไทย
ด้านถนนสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) เข้าประตู 4 (ดาวเรือง)
บริเวณลานจอดรถประตู 4
* นิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์ 10 โครงการ
* สวนสนุก, สวนอาหารนานาชาติ
* ร้านจำหน่ายต้นไม้อของสวนหลวง ร.9
* ร้านจำหน่ายอาหาร
* ร้านจำหน่ายสินค้าในเครือสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด
อาคารถกลพระเกียรติ
* สอยกัลปพฤกษ์
* ชมบอนสี, บอนไซ, โป๊ยเซียน, ชวนชม, แก้วกาญจนาราเซียน่า ที่ชนะการประกวด
* ชมแปลงดอกไม้นานาพันธ์
ด้านถนนสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) เข้าประตู 6 (เฟื่องฟ้า)
บริเวณสนามราษฎร์
* ร้านจำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์จัดสวน
* นิทรรศการต้นไม้ที่ชนะการประกวด
* ศูนย์จำหน่ายอาหาร
* ชมการแสดงดนตรีสตริง, ลูกทุ่ง ของ กทม.
ด้านถนนศรีนครินทร์ หลังพาราไดซ์ พาร์ค เข้าประตู 5 (มณฑารพ)
บริเวณหน้าหอพฤกษศาสตร์
* ร้านจำหน่ายต้นไม้ของสวนหลวง ร.9
* นิทรรศการเรื่อง “วัลยชาตินานาสาระพัน”
* นิทรรศการไม้ดัดวัฒนธรรม
* ศาลาพยากรณ์
* ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับต้นไม้
บริเวณหน้าอาคารชายชล
* ร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ และสินค้า OTOP
* ร้านจำหน่าย “สมบัติผลัดกันชม”
* ร้านขายของที่ระลึกมูลนิธิฯ
* ร้านอาหาร S & P
บริเวณสวนเชิงผา
* ชมดนตรีสตริง, ลูกทุ่ง ของ กทม.
บริเวณเกาะ 3
* ชมการแสดงดนตรี 4 เหล่าทัพ
* การจัดสวนหย่อม โดยภาครัฐและเอกชน
* การจัดสวนหย่อม โดยเยาวชน
* ศูนย์จำหน่ายอาหาร
บริเวณอุทยานมหาราช และหอรัชมงคล
* ชมนิทรรศการ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร”
* ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ของ กปร. เรื่อง “ตามรอยพระราชดำริ : สู่ประโยชน์สุข”
* การแสดงกลางแจ้ง
* ชมแปลงดอกไม้นานาพันธุ์
* ชมน้ำพุดนตรี
บริเวณสวนรมณีย์ และศาลาพุฒ-จันทน์
* กิจกรรมการสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน นำเสนอในรูปแบบของการสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพมหานคร พร้อมการก่อสร้างและตกแต่งบรรยากาศแบบย้อนยุค โดยมีกิจกรรมสาธิตต่างๆ อาทิเช่น นวดแพทย์แผนไทย บุหงา เครื่องหอม สาธิตการเข้าตัวเรือนแหวนไข่มุก เจียระไนพลอย การทำผลิตภัณฑ์จากกะลา ผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนังต่อ ผัก ผลไม้ ประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสายเกลียว ผลิตภัณฑ์กรอบรูปจิ๊กซอว์ การเพ้นท์ผ้าลายไทย การทำผ้าไหมปัก ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้า ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้สักทอง ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ผลิตภัณฑ์จากผ้า ร่มกระดาษ บ้านทรงไทยจำลอง ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา กาแฟโบราณ โรตีมะตะบะ
* กิจกรรมตลาดน้ำ จำลองบรรยากาศวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำ ในรูปแบบการค้าขายสินค้าต่างๆ อาทิเช่น ผลไม้ดอง แช่อิ่ม มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมูล 5 สี ขนมเบื้องโบราณ ส้มตำผลไม้ ขนมจีน น้ำพริก น้ำยา ข้าวมันไก่ หมี่กรอบ ข้าวเกรียบว่าว ขนมลูกชุบ ขนมไทย ขนมจีบ ทอดมัน ยำแหนมสด เฉาก๊วยโบราณ
* การแสดงเพลงพื้นบ้าน อาทิ เพลงเรือ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเกี่ยวข้าว ลำตัด
* การแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ การแสดงลิเก การแสดงละครนอก การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
* การละเล่นพื้นบ้านแบบไทย (ทางบก/ทางน้ำ) ดังนี้
การละเล่นทางบก ได้แก่ มวยตับจาก ปิดตาตีหม้อ ปีนเสาน้ำมัน ตักน้ำใส่กระโหลก
การละเล่นทางน้ำ ได้แก่ มวยทะเล พายกะละมัง พายเรือหัวใบ้-ท้ายบอด ชักกะเย่อเรือ
กิจกรรมพิเศษ
วันที่ 1, 4, 5, 12 ธันวาคม 2553
วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00 น.
งานทำบุญเลี้ยงพระ, มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดไม้ใบ ไม้ดอก ไม้ประดับ
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2553 เวลา 5.00 น.
งาน “สวนหลวง ร.9 เดิน-วิ่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” บริเวณหน้าหอรัชมงคล
วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2553 เวลา 17.30 -19.00 น.
ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมประยุกต์ผสมผสานการแสดงนาฎศิลป์ไทย 4 ภาค เวลา 19.29 น. จุดเทียนถวายพระพรพร้อมกันทั่วประเทศ บริเวณหน้าหอรัชมงคล และชมพลุเฉลิมพระเกียรติและพลุประกอบดนตรี
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2553
จุดพลุปิดงาน บริเวณตระพังแก้ว
กิจกรรมวันหยุด
วันที่ 4, 5, 6, 10, 11, 12 ธันวาคม 2553
* ชมตลาดโบราณ, กิจกรรมหมู่บ้านวัฒธรรม 4 ภาค และโคมไฟเฉลิมพระเกียรติ บริเวณสวนรมณีย์
* ชมนิทรรศการช่าง 10 หมู่ อาคารชายชล
การเดินทางโดยรถประจำทาง
* เส้น ศรีนคริทร์ สาย 145, 207 ลงหน้าห้างพาราไดซ์ พาร์ค (เสรีเซ็นเตอร์เก่า) แล้วต่อมอเตอร์ไซด์เข้าสวนหลวง
* เส้น เฉลิมพระเกียรติ 11, 206 ผ่านหน้าสวนหลวง ร.9
* เส้น สุขุมวิท ทุกสายที่ผ่านแยกอุดมสุข แล้วต่อรถเมล์แดง (ที่วิ่งถึง สวนหลวง ร.9) ที่ปากซอยอุดสุข
ระหว่างวันพุธที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2553
เวลา 8.00 – 19.00 น.
จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสวันเฉลิม พระชนพรรษา ภายในงานจัดให้มีการแสดงไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายสายพันธุ์ นิทรรศการประวัติสวนหลวง ร.9 นิทรรศการศิลปะประดิษฐ์ เช่น พวงมาลัย ภาชนะที่สานด้วยใบตองกระทง จำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์จัดสวน การแสดงความสามารถของสุนัข การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาค พยากรณ์โชคชะตา สวนสนุก การแสดงดอกไม้ไฟโบราณ จำหน่ายสินค้าของที่ระลึกมูลนิธิฯ ร้านสายใจไทย
ด้านถนนสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) เข้าประตู 4 (ดาวเรือง)
บริเวณลานจอดรถประตู 4
* นิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์ 10 โครงการ
* สวนสนุก, สวนอาหารนานาชาติ
* ร้านจำหน่ายต้นไม้อของสวนหลวง ร.9
* ร้านจำหน่ายอาหาร
* ร้านจำหน่ายสินค้าในเครือสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด
อาคารถกลพระเกียรติ
* สอยกัลปพฤกษ์
* ชมบอนสี, บอนไซ, โป๊ยเซียน, ชวนชม, แก้วกาญจนาราเซียน่า ที่ชนะการประกวด
* ชมแปลงดอกไม้นานาพันธ์
ด้านถนนสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) เข้าประตู 6 (เฟื่องฟ้า)
บริเวณสนามราษฎร์
* ร้านจำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์จัดสวน
* นิทรรศการต้นไม้ที่ชนะการประกวด
* ศูนย์จำหน่ายอาหาร
* ชมการแสดงดนตรีสตริง, ลูกทุ่ง ของ กทม.
ด้านถนนศรีนครินทร์ หลังพาราไดซ์ พาร์ค เข้าประตู 5 (มณฑารพ)
บริเวณหน้าหอพฤกษศาสตร์
* ร้านจำหน่ายต้นไม้ของสวนหลวง ร.9
* นิทรรศการเรื่อง “วัลยชาตินานาสาระพัน”
* นิทรรศการไม้ดัดวัฒนธรรม
* ศาลาพยากรณ์
* ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับต้นไม้
บริเวณหน้าอาคารชายชล
* ร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ และสินค้า OTOP
* ร้านจำหน่าย “สมบัติผลัดกันชม”
* ร้านขายของที่ระลึกมูลนิธิฯ
* ร้านอาหาร S & P
บริเวณสวนเชิงผา
* ชมดนตรีสตริง, ลูกทุ่ง ของ กทม.
บริเวณเกาะ 3
* ชมการแสดงดนตรี 4 เหล่าทัพ
* การจัดสวนหย่อม โดยภาครัฐและเอกชน
* การจัดสวนหย่อม โดยเยาวชน
* ศูนย์จำหน่ายอาหาร
บริเวณอุทยานมหาราช และหอรัชมงคล
* ชมนิทรรศการ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร”
* ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ของ กปร. เรื่อง “ตามรอยพระราชดำริ : สู่ประโยชน์สุข”
* การแสดงกลางแจ้ง
* ชมแปลงดอกไม้นานาพันธุ์
* ชมน้ำพุดนตรี
บริเวณสวนรมณีย์ และศาลาพุฒ-จันทน์
* กิจกรรมการสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน นำเสนอในรูปแบบของการสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพมหานคร พร้อมการก่อสร้างและตกแต่งบรรยากาศแบบย้อนยุค โดยมีกิจกรรมสาธิตต่างๆ อาทิเช่น นวดแพทย์แผนไทย บุหงา เครื่องหอม สาธิตการเข้าตัวเรือนแหวนไข่มุก เจียระไนพลอย การทำผลิตภัณฑ์จากกะลา ผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนังต่อ ผัก ผลไม้ ประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสายเกลียว ผลิตภัณฑ์กรอบรูปจิ๊กซอว์ การเพ้นท์ผ้าลายไทย การทำผ้าไหมปัก ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้า ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้สักทอง ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ผลิตภัณฑ์จากผ้า ร่มกระดาษ บ้านทรงไทยจำลอง ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา กาแฟโบราณ โรตีมะตะบะ
* กิจกรรมตลาดน้ำ จำลองบรรยากาศวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำ ในรูปแบบการค้าขายสินค้าต่างๆ อาทิเช่น ผลไม้ดอง แช่อิ่ม มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมูล 5 สี ขนมเบื้องโบราณ ส้มตำผลไม้ ขนมจีน น้ำพริก น้ำยา ข้าวมันไก่ หมี่กรอบ ข้าวเกรียบว่าว ขนมลูกชุบ ขนมไทย ขนมจีบ ทอดมัน ยำแหนมสด เฉาก๊วยโบราณ
* การแสดงเพลงพื้นบ้าน อาทิ เพลงเรือ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเกี่ยวข้าว ลำตัด
* การแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ การแสดงลิเก การแสดงละครนอก การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
* การละเล่นพื้นบ้านแบบไทย (ทางบก/ทางน้ำ) ดังนี้
การละเล่นทางบก ได้แก่ มวยตับจาก ปิดตาตีหม้อ ปีนเสาน้ำมัน ตักน้ำใส่กระโหลก
การละเล่นทางน้ำ ได้แก่ มวยทะเล พายกะละมัง พายเรือหัวใบ้-ท้ายบอด ชักกะเย่อเรือ
กิจกรรมพิเศษ
วันที่ 1, 4, 5, 12 ธันวาคม 2553
วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00 น.
งานทำบุญเลี้ยงพระ, มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดไม้ใบ ไม้ดอก ไม้ประดับ
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2553 เวลา 5.00 น.
งาน “สวนหลวง ร.9 เดิน-วิ่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” บริเวณหน้าหอรัชมงคล
วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2553 เวลา 17.30 -19.00 น.
ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมประยุกต์ผสมผสานการแสดงนาฎศิลป์ไทย 4 ภาค เวลา 19.29 น. จุดเทียนถวายพระพรพร้อมกันทั่วประเทศ บริเวณหน้าหอรัชมงคล และชมพลุเฉลิมพระเกียรติและพลุประกอบดนตรี
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2553
จุดพลุปิดงาน บริเวณตระพังแก้ว
กิจกรรมวันหยุด
วันที่ 4, 5, 6, 10, 11, 12 ธันวาคม 2553
* ชมตลาดโบราณ, กิจกรรมหมู่บ้านวัฒธรรม 4 ภาค และโคมไฟเฉลิมพระเกียรติ บริเวณสวนรมณีย์
* ชมนิทรรศการช่าง 10 หมู่ อาคารชายชล
การเดินทางโดยรถประจำทาง
* เส้น ศรีนคริทร์ สาย 145, 207 ลงหน้าห้างพาราไดซ์ พาร์ค (เสรีเซ็นเตอร์เก่า) แล้วต่อมอเตอร์ไซด์เข้าสวนหลวง
* เส้น เฉลิมพระเกียรติ 11, 206 ผ่านหน้าสวนหลวง ร.9
* เส้น สุขุมวิท ทุกสายที่ผ่านแยกอุดมสุข แล้วต่อรถเมล์แดง (ที่วิ่งถึง สวนหลวง ร.9) ที่ปากซอยอุดสุข
EOS 7D Firmware Update Version 1.2.3
EOS 7D Firmware Update Version 1.2.3
Firmware changes
Firmware version 1.2.3 incorporates the following fixes.
1. Fixes a phenomenon in which the settings of the Speedlite Transmitter ST-E2 revert to the default settings when both the camera and the ST-E2 are set to auto power off.
2. Fixes a phenomenon in which the Macro Ring Lite (MR-14EX, MT24-EX) and slave flashes do not sync while shooting wirelessly.
Firmware version 1.2.3 is for cameras with firmware up to Version 1.2.2. If the camera's firmware is already Version 1.2.3, it is not necessary to update the firmware.
http://web.canon.jp/imaging/eosd/fir.../firmware.html
Firmware changes
Firmware version 1.2.3 incorporates the following fixes.
1. Fixes a phenomenon in which the settings of the Speedlite Transmitter ST-E2 revert to the default settings when both the camera and the ST-E2 are set to auto power off.
2. Fixes a phenomenon in which the Macro Ring Lite (MR-14EX, MT24-EX) and slave flashes do not sync while shooting wirelessly.
Firmware version 1.2.3 is for cameras with firmware up to Version 1.2.2. If the camera's firmware is already Version 1.2.3, it is not necessary to update the firmware.
http://web.canon.jp/imaging/eosd/fir.../firmware.html
วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วิธี ยืดอายุการใช้แบตกล้อง ให้ใช้งานได้นานขึ้น
วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้อง ให้ใช้ได้นานถึง ห้าปี ตอนที่ 1 / 3
ความ จริงผมตั้งใจจะเขียนบทความนี้มานานแล้วครับ แต่ก็รอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมก่อน ซึ่งก็คือหลังช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่เพิ่งผ่านพ้นไปนี่เอง เพราะผมจะพูดถึงวิธีการดูแลเก็บรักษาแบตเตอรี่ให้มันอยู่ทนใช้ได้นานๆ หลายๆท่านไปเที่ยวช่วงปีใหม่กลับมาแล้วเพิ่งจะเก็บกล้องเข้าตู้ไป เราลองมาดูกันว่า คุณเก็บอย่างถูกวิธีหรือเปล่า บทความนี้จะยาวหน่อยนะครับจึงต้องแบ่งออกเป็นสามตอน แต่ถ้าคุณติดตามอ่านจนครบแล้วนำไปปฏิบัติตามอย่างจริงจังแล้วละก็ รับรองได้เลยว่าแบตเตอรี่กล้องของคุณจะใช้ได้นานห้าปีขึ้นไปอย่างสบายๆครับ ก่อนอื่นขอเน้นให้ชัดเจนก่อนนะครับ บทความนี้เป็นคำแนะนำในการเก็บรักษาแบตเตอรี่ชนิด ลิเธี่ยมไออ้อนเท่านั้น หากกล้องของคุณใช้ถ่านชาร์จแบบ NiMh ละก็ต้องขอบอกว่าการดูแลรักษาจะแตกต่างออกไปจากนี้ ขอให้ติดตามในฉบับต่อๆไปนะครับ เริ่มกันเลยดีกว่า จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไออ้อนที่ใช้ใน กล้อง ทำให้เราพบว่า สิ่งที่มีผลกระทบกับอายุของแบตเตอรี่กล้องมากที่สุดคือการเก็บรักษา ความจริงคือคนส่วนมากไม่ได้ใช้กล้องทุกวัน ตามสถิติแล้วคนทั่วไปจะใช้กล้องเพียงปีละไม่กี่ครั้ง อย่างมากก็ไม่เกินสิบครั้งในหนึ่งปี ใช้งานนี่คือใช้จริงๆนะครับ ไม่นับการเอากล้องออกมากดเล่นนิดหน่อยๆแล้วก็เก็บ แบตเตอรี่จึงอยู่ในสภาพที่ถูกเก็บไว้เฉยๆ มากกว่าใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่ในมือถือที่ถูกใช้งานทุกวัน หลายๆคนเข้าใจผิดว่าแบตเตอรี่เก็บไว้เฉยๆไม่น่าเสื่อม อันนี้ผิดครับ แบตลิเธี่ยมไออ้อน แม้จะไม่ได้ใช้งานเลยเก็บอย่างเดียวก็เสื่อมลงได้ครับ และการเก็บที่ไม่ถูกวิธี จะทำให้อัตราการเสื่อมเร็วกว่าการเก็บอย่างถูกวิธีหลายสิบเท่า! สิ่งที่มีผลกระทบกับอายุแบตเตอรี่ลิเธี่ยม ไออ้อนในการเก็บรักษามากที่สุด คือ 1) สภาพไฟในการเก็บ 2) อุณหภูมิที่เก็บ ข้อแรก: สภาพไฟในการเก็บ ทฤษฎีกล่าวไว้ว่า หากจะเก็บลิเธี่ยมไออ้อนให้มีอายุนาน สภาพไฟที่เหมาะสมที่สุด ให้มีไฟอยู่ที่ 40% หรือหากวัดไฟที่ขั้วเซลล์ ให้ได้ประมาณ 3.75-3.80 โวลต์ ถือว่าเป็นสภาพที่เหมาะสม ไม่ควรเก็บในสภาพไฟเต็ม และ ห้าม เก็บในสภาพไฟหมด (โปรดสังเกตว่าผมใช้คำว่า ไม่ควร และ ห้าม) การที่เก็บแบตเตอรี่ในสภาพไฟเต็ม เคมีภายในจะ อยู่ในสภาพ active มาก แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร แต่เก็บในสภาพไฟหมดก็ยิ่งแย่กว่า เพราะเก็บไว้นานๆ แบตเตอรี่จะตาย ชาร์จไฟไม่เข้าอีกเลย โยนทิ้งซื้อใหม่ได้เลยครับ ข้อหลังนี้ผมทราบว่าคนใช้กล้องส่วนใหญ่ก็ชอบทำกันแบบนี้เป๊ะเลยครับ คือไปเที่ยวถ่ายรูปกันจนแบตหมด กลับบ้านมาก็โยนกล้องเข้าตู้ไป อีกหลายเดือนต่อมาจะเอากล้องมาใช้ ปรากฎว่า แบตเตอรี่ชาร์จไม่เข้าซะแล้ว นี่แหละครับ แบตเตอรี่ตาย เพราะเก็บในสภาพไฟหมดเป็นเวลานานเกินไป
วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้อง ให้ใช้ได้นานถึง ห้าปี ตอนที่ 2 / 3
สัปดาห์ ที่แล้วผมพูดถึงการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้องแบบลิเธี่ยมไออ้อนยังไม่จบ เรามาต่อกันเลยครับ ในเมื่อสภาพไฟในการเก็บมีผล แบตเต็มก็ทำให้เสื่อมเร็ว แบตหมดก็ทำให้มันเสียไปเลย แนะนำว่า ให้เดินทางสายกลางสิครับ และตามทฤษฎีก็ระบุไว้ว่า สภาพไฟที่เหมาะสมในการเก็บคือให้มีไฟราวๆ 40% ถ้าทำตามทฤษฎีเป๊ะๆเลย คุณต้องมีมิเตอร์วัดไฟ จิ้มที่ขั้วบวก(+)ลบ(-) ของแบตเตอรี่ หากเป็นแบตที่ระบุคุณสมบัติบนฉลากว่า 3.6 หรือ 3.7V ให้วัดไฟที่ขั้วได้ประมาณ 3.75-3.80V ถือว่ามีไฟ 40% เก็บได้เลย แต่หากฉลากระบุว่าเป็นแบตเตอรี่ 7.2 หรือ 7.4V ก็ให้วัดไฟออกมาได้ประมาณ 7.5-7.6V เท่ากับ 40% ก็เป็นอันใช้ได้เช่นเดียวกัน หากฟังดูยุ่งยากสำหรับคนทั่วไป อะไรกันนักหนาแค่จะเก็บแบตต้องมาทำให้ไฟเหลือเท่านี้ต้องมีมิเตอร์วัดไฟอีก ผมขอแนะนำว่า เอาง่ายๆสะดวกเราก็พอครับ ให้กะเอา เราใช้กล้องอยู่เราจะรู้ดีว่าตอนนี้ไฟในแบตเหลือประมาณเท่าไหร่ ที่จอกล้องมันจะมีมาตรวัดระดับไฟในแบตแสดงเป็นแบบปล้องๆอยู่แล้ว กะเอาว่าให้ไฟมีประมาณครึ่งหนึ่งก็ถือว่าใกล้เคียง 40% แล้ว ก็เก็บได้เลย จากการค้นคว้าทดลองพบว่า หากคุณเก็บแบตเตอรี่ในสภาพไฟ 40% ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม แบตจะเสื่อมไปเพียง 4% แต่หากเก็บในสภาพไฟเต็ม 100% เป็นเวลาหนึ่งปี ที่ 25 องศาเท่ากัน แบตจะเสื่อมไปถึง 20% ต่างกันถึงห้าเท่าตัว! เชื่อหรือยังครับ ว่าสภาพไฟในการเก็บมีผลอย่างมากต่ออายุแบตเตอรี่ ยังมีอีกข้อที่มีผลกับอายุแบต นั่นคือ ข้อสอง: อุณหภูมิในการเก็บ ตามทฤษฎีอีกเช่นกัน แบตลิเธี่ยมไออ้อนไม่ชอบความร้อน ในสภาพแวดล้อมที่ยิ่งร้อน แบตเตอรี่จะยิ่งเสื่อมไวขึ้น ลองมาดูตัวเลขกันนะครับ อุณหภูมิที่เก็บ ระดับการประจุ 40% ระดับการประจุ 100% 0 °C เสื่อม 2% ต่อปี เสื่อม 6% ต่อปี 25 °C เสื่อม 4% ต่อปี เสื่อม 20% ต่อปี 40 °C เสื่อม 15% ต่อปี เสื่อม 35% ต่อปี 60 °C เสื่อม 25% ต่อปี เสื่อม 40% ในสามเดือน *อ้างอิง www.batteryuniversity.com ตารางนี้ทำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า แม้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งสำหรับบ้านเราไม่ได้ถือว่าร้อนเลย แต่แบตเตอรี่ก็เสื่อมเร็วขึ้นแล้ว แต่หากเก็บที่ประมาณ 40 องศา อัตราการเสื่อมจะเร็วขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว และที่แย่ที่สุดคือที่ 60 องศาซึ่งถือว่าร้อนมาก แบตเตอรี่จะเสื่อมถึง 40% ภายในเวลาแค่สามเดือนเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บแบตเตอรี่ในที่ร้อนมากเช่น ในรถที่จอดตากแดดเป็นอันขาด จากในตาราง จะเห็นว่าที่อุณหภูมิ 0 องศา แบตเตอรี่จะเสื่อมช้าที่สุด หากบวกกับการเก็บในสภาพไฟที่เหมาะสมที่ 40% แล้วละก็ แบตเตอรี่จะเสื่อมเพียงปีละ 2% เท่านั้น ถ้าเก็บอย่างนี้ได้จริง ห้าปีแบตก็เสื่อมไปเพียง 10% ยังใช้ได้อีกตั้ง 90% ถือว่าแบตยังใช้งานได้เกือบจะเหมือนก้อนใหม่เลย เอ้า ให้สิบปีเลยก็ได้ แบตเสื่อมไป 20% ก็ยังถือว่ายังอยู่อีก 80% คุณเคยคิดว่า แบตที่คุณใช้อยู่ จะใช้ได้ถึงสิบปีไหมครับ? สิบปี กล้องคุณจะอยู่นานถึงขนาดนั้นหรือเปล่ายังไม่รู้เลย หมดหน้ากระดาษอีกแล้วครับท่าน
วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้อง ให้ใช้ได้นานถึง ห้าปี ตอนที่ 3 / 3
ใน ตอนที่ 1 และ 2 ผมพูดถึงสิ่งที่ทำร้ายอายุแบตเตอรี่กล้องมากที่สุดสองประการ คือ สภาพไฟในการเก็บ และ อุณหภูมิในการเก็บ พร้อมกับแนะนำว่า การเก็บแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง ควรเก็บในอุณหภูมิ 0 องศา ในสภาพไฟ 40% จะทำให้แบตอายุยืนที่สุด ทฤษฎีเราได้ทราบกันไปหมดแล้ว ในสัปดาห์นี้ ผมจะมาแนะนำวิธีง่ายๆที่เราทุกคนสามารถปฏิบัติเพื่อเก็บแบตอย่างถูกวิธีกัน ครับ ในบ้านของเรามีสถานที่ๆอุณหภูมิเย็นใกล้เคียง 0 องศาอยู่แล้ว ก็คือตู้เย็นนั่นเอง คุณสามารถเก็บแบตไว้ในตู้เย็นได้ แต่ต้องเป็นช่องข้างล่าง ไม่ใช่ช่องแช่แข็งนะครับ ในช่องแช่แข็ง อุณหภูมิจะติดลบ เย็นเกินไปเดี๋ยวแบตเตอรี่จะบวมเหมือนกระป๋องเบียร์ที่คุณพ่อบ้านนำไปแช่ไว้ แล้วลืม พอเอาออกมา มันก็บวมฉึ่งเลย ตู้เย็น (ข้างล่าง) ทั่วไปอุณหภูมิจะอยู่ราวๆ 2-5 องศา แม้จะไม่ใช่ 0 องศาแต่ก็นับว่าเย็นเพียงพอครับ แต่อย่าเพิ่งโยนแบตเข้าไปในตู้เย็นตอนนี้เลยนะครับ จะเก็บก็ต้องมีขั้นตอนนิดหน่อย 1) ทำให้แบตเตอรี่มีไฟที่ระดับ 40% หรือกะเอาให้มีไฟประมาณครึ่งหนึ่ง 2) หาถุงพลาสติคมาสองใบ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงก๊อบแก๊บอะไรก็ได้ครับ ขอให้มันไม่รั่วก็พอ 3) หาสารดูดความชื้น ถ้าใครมีซิลิก้าเจล ก็ใช้ได้ ถ้ายังไม่มี ก็ไม่ต้องยุ่งยากอะไรมากครับ หาซื้อขนมพวก โดโซะ ชินมัย หรือ สาหร่ายอบกรอบที่เด็กๆชอบทานกัน ในซองขนมพวกนี้จะมีซองดูดความชื้นอยู่ นั่นแหละ เอามาใช้ได้เลยครับ 4) เอาแบตเตอรี่ใส่ลงไปในถุงพร้อมสารดูดความชื้น รีดอากาศออกให้ถุงแบนๆที่สุด มัดด้วยหนังยาง แล้วซ้อนถุงชั้นที่สอง มัดหนังยางเช่นกันครับ 5) นำไปวางในตู้เย็น เห็นไหมครับว่าไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย การที่ผมให้ใส่ถุงแล้วใส่ซองกันชื้นไว้ด้วย เพื่อตอนที่นำออกมาไงครับ หากคุณนำแบตเตอรี่ไปวางในตู้เย็นเฉยๆ ตอนเอาออกมา ไอน้ำจะเกาะแบตเตอรี่ใช่ไหมครับ ซึ่งมันอาจจะทำให้เกิดสนิมหรืออาจทำให้แผงวงจรภายในแบตมีปัญหาได้ ผมถึงให้ใส่ถุงพร้อมสารดูดความชื้นเอาไว้ เมื่อนำออกมาใช้งาน ก็รอสัก 20 นาทีให้หายเย็นก่อน ค่อยนำออกมาจากถุง แล้วจึงนำไปชาร์จ ใช้งานตามปกติได้เลย อ้อ แถมคำแนะนำอีกนิดว่า ควรนำแบตเตอรี่มาใช้งานบ้างสักหนึ่งครั้งต่อสามถึงหกเดือน แล้วจึงเก็บใหม่ด้วยกระบวนการเดียวกัน ด้วยวิธีเก็บแบบง่ายๆเพียงเท่านี้เองครับ แบตเตอรี่กล้องชนิด ลิเธี่ยมไออ้อน ของคุณก็จะอายุยืน อยู่ยงคงกระพันไปได้อีกนานอีกห้าปี หรือ สิบปี ได้อย่างสบายๆแน่นอนครับ
Credit : www.oskabatt.com
ความ จริงผมตั้งใจจะเขียนบทความนี้มานานแล้วครับ แต่ก็รอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมก่อน ซึ่งก็คือหลังช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่เพิ่งผ่านพ้นไปนี่เอง เพราะผมจะพูดถึงวิธีการดูแลเก็บรักษาแบตเตอรี่ให้มันอยู่ทนใช้ได้นานๆ หลายๆท่านไปเที่ยวช่วงปีใหม่กลับมาแล้วเพิ่งจะเก็บกล้องเข้าตู้ไป เราลองมาดูกันว่า คุณเก็บอย่างถูกวิธีหรือเปล่า บทความนี้จะยาวหน่อยนะครับจึงต้องแบ่งออกเป็นสามตอน แต่ถ้าคุณติดตามอ่านจนครบแล้วนำไปปฏิบัติตามอย่างจริงจังแล้วละก็ รับรองได้เลยว่าแบตเตอรี่กล้องของคุณจะใช้ได้นานห้าปีขึ้นไปอย่างสบายๆครับ ก่อนอื่นขอเน้นให้ชัดเจนก่อนนะครับ บทความนี้เป็นคำแนะนำในการเก็บรักษาแบตเตอรี่ชนิด ลิเธี่ยมไออ้อนเท่านั้น หากกล้องของคุณใช้ถ่านชาร์จแบบ NiMh ละก็ต้องขอบอกว่าการดูแลรักษาจะแตกต่างออกไปจากนี้ ขอให้ติดตามในฉบับต่อๆไปนะครับ เริ่มกันเลยดีกว่า จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไออ้อนที่ใช้ใน กล้อง ทำให้เราพบว่า สิ่งที่มีผลกระทบกับอายุของแบตเตอรี่กล้องมากที่สุดคือการเก็บรักษา ความจริงคือคนส่วนมากไม่ได้ใช้กล้องทุกวัน ตามสถิติแล้วคนทั่วไปจะใช้กล้องเพียงปีละไม่กี่ครั้ง อย่างมากก็ไม่เกินสิบครั้งในหนึ่งปี ใช้งานนี่คือใช้จริงๆนะครับ ไม่นับการเอากล้องออกมากดเล่นนิดหน่อยๆแล้วก็เก็บ แบตเตอรี่จึงอยู่ในสภาพที่ถูกเก็บไว้เฉยๆ มากกว่าใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่ในมือถือที่ถูกใช้งานทุกวัน หลายๆคนเข้าใจผิดว่าแบตเตอรี่เก็บไว้เฉยๆไม่น่าเสื่อม อันนี้ผิดครับ แบตลิเธี่ยมไออ้อน แม้จะไม่ได้ใช้งานเลยเก็บอย่างเดียวก็เสื่อมลงได้ครับ และการเก็บที่ไม่ถูกวิธี จะทำให้อัตราการเสื่อมเร็วกว่าการเก็บอย่างถูกวิธีหลายสิบเท่า! สิ่งที่มีผลกระทบกับอายุแบตเตอรี่ลิเธี่ยม ไออ้อนในการเก็บรักษามากที่สุด คือ 1) สภาพไฟในการเก็บ 2) อุณหภูมิที่เก็บ ข้อแรก: สภาพไฟในการเก็บ ทฤษฎีกล่าวไว้ว่า หากจะเก็บลิเธี่ยมไออ้อนให้มีอายุนาน สภาพไฟที่เหมาะสมที่สุด ให้มีไฟอยู่ที่ 40% หรือหากวัดไฟที่ขั้วเซลล์ ให้ได้ประมาณ 3.75-3.80 โวลต์ ถือว่าเป็นสภาพที่เหมาะสม ไม่ควรเก็บในสภาพไฟเต็ม และ ห้าม เก็บในสภาพไฟหมด (โปรดสังเกตว่าผมใช้คำว่า ไม่ควร และ ห้าม) การที่เก็บแบตเตอรี่ในสภาพไฟเต็ม เคมีภายในจะ อยู่ในสภาพ active มาก แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร แต่เก็บในสภาพไฟหมดก็ยิ่งแย่กว่า เพราะเก็บไว้นานๆ แบตเตอรี่จะตาย ชาร์จไฟไม่เข้าอีกเลย โยนทิ้งซื้อใหม่ได้เลยครับ ข้อหลังนี้ผมทราบว่าคนใช้กล้องส่วนใหญ่ก็ชอบทำกันแบบนี้เป๊ะเลยครับ คือไปเที่ยวถ่ายรูปกันจนแบตหมด กลับบ้านมาก็โยนกล้องเข้าตู้ไป อีกหลายเดือนต่อมาจะเอากล้องมาใช้ ปรากฎว่า แบตเตอรี่ชาร์จไม่เข้าซะแล้ว นี่แหละครับ แบตเตอรี่ตาย เพราะเก็บในสภาพไฟหมดเป็นเวลานานเกินไป
วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้อง ให้ใช้ได้นานถึง ห้าปี ตอนที่ 2 / 3
สัปดาห์ ที่แล้วผมพูดถึงการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้องแบบลิเธี่ยมไออ้อนยังไม่จบ เรามาต่อกันเลยครับ ในเมื่อสภาพไฟในการเก็บมีผล แบตเต็มก็ทำให้เสื่อมเร็ว แบตหมดก็ทำให้มันเสียไปเลย แนะนำว่า ให้เดินทางสายกลางสิครับ และตามทฤษฎีก็ระบุไว้ว่า สภาพไฟที่เหมาะสมในการเก็บคือให้มีไฟราวๆ 40% ถ้าทำตามทฤษฎีเป๊ะๆเลย คุณต้องมีมิเตอร์วัดไฟ จิ้มที่ขั้วบวก(+)ลบ(-) ของแบตเตอรี่ หากเป็นแบตที่ระบุคุณสมบัติบนฉลากว่า 3.6 หรือ 3.7V ให้วัดไฟที่ขั้วได้ประมาณ 3.75-3.80V ถือว่ามีไฟ 40% เก็บได้เลย แต่หากฉลากระบุว่าเป็นแบตเตอรี่ 7.2 หรือ 7.4V ก็ให้วัดไฟออกมาได้ประมาณ 7.5-7.6V เท่ากับ 40% ก็เป็นอันใช้ได้เช่นเดียวกัน หากฟังดูยุ่งยากสำหรับคนทั่วไป อะไรกันนักหนาแค่จะเก็บแบตต้องมาทำให้ไฟเหลือเท่านี้ต้องมีมิเตอร์วัดไฟอีก ผมขอแนะนำว่า เอาง่ายๆสะดวกเราก็พอครับ ให้กะเอา เราใช้กล้องอยู่เราจะรู้ดีว่าตอนนี้ไฟในแบตเหลือประมาณเท่าไหร่ ที่จอกล้องมันจะมีมาตรวัดระดับไฟในแบตแสดงเป็นแบบปล้องๆอยู่แล้ว กะเอาว่าให้ไฟมีประมาณครึ่งหนึ่งก็ถือว่าใกล้เคียง 40% แล้ว ก็เก็บได้เลย จากการค้นคว้าทดลองพบว่า หากคุณเก็บแบตเตอรี่ในสภาพไฟ 40% ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม แบตจะเสื่อมไปเพียง 4% แต่หากเก็บในสภาพไฟเต็ม 100% เป็นเวลาหนึ่งปี ที่ 25 องศาเท่ากัน แบตจะเสื่อมไปถึง 20% ต่างกันถึงห้าเท่าตัว! เชื่อหรือยังครับ ว่าสภาพไฟในการเก็บมีผลอย่างมากต่ออายุแบตเตอรี่ ยังมีอีกข้อที่มีผลกับอายุแบต นั่นคือ ข้อสอง: อุณหภูมิในการเก็บ ตามทฤษฎีอีกเช่นกัน แบตลิเธี่ยมไออ้อนไม่ชอบความร้อน ในสภาพแวดล้อมที่ยิ่งร้อน แบตเตอรี่จะยิ่งเสื่อมไวขึ้น ลองมาดูตัวเลขกันนะครับ อุณหภูมิที่เก็บ ระดับการประจุ 40% ระดับการประจุ 100% 0 °C เสื่อม 2% ต่อปี เสื่อม 6% ต่อปี 25 °C เสื่อม 4% ต่อปี เสื่อม 20% ต่อปี 40 °C เสื่อม 15% ต่อปี เสื่อม 35% ต่อปี 60 °C เสื่อม 25% ต่อปี เสื่อม 40% ในสามเดือน *อ้างอิง www.batteryuniversity.com ตารางนี้ทำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า แม้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งสำหรับบ้านเราไม่ได้ถือว่าร้อนเลย แต่แบตเตอรี่ก็เสื่อมเร็วขึ้นแล้ว แต่หากเก็บที่ประมาณ 40 องศา อัตราการเสื่อมจะเร็วขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว และที่แย่ที่สุดคือที่ 60 องศาซึ่งถือว่าร้อนมาก แบตเตอรี่จะเสื่อมถึง 40% ภายในเวลาแค่สามเดือนเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บแบตเตอรี่ในที่ร้อนมากเช่น ในรถที่จอดตากแดดเป็นอันขาด จากในตาราง จะเห็นว่าที่อุณหภูมิ 0 องศา แบตเตอรี่จะเสื่อมช้าที่สุด หากบวกกับการเก็บในสภาพไฟที่เหมาะสมที่ 40% แล้วละก็ แบตเตอรี่จะเสื่อมเพียงปีละ 2% เท่านั้น ถ้าเก็บอย่างนี้ได้จริง ห้าปีแบตก็เสื่อมไปเพียง 10% ยังใช้ได้อีกตั้ง 90% ถือว่าแบตยังใช้งานได้เกือบจะเหมือนก้อนใหม่เลย เอ้า ให้สิบปีเลยก็ได้ แบตเสื่อมไป 20% ก็ยังถือว่ายังอยู่อีก 80% คุณเคยคิดว่า แบตที่คุณใช้อยู่ จะใช้ได้ถึงสิบปีไหมครับ? สิบปี กล้องคุณจะอยู่นานถึงขนาดนั้นหรือเปล่ายังไม่รู้เลย หมดหน้ากระดาษอีกแล้วครับท่าน
วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่กล้อง ให้ใช้ได้นานถึง ห้าปี ตอนที่ 3 / 3
ใน ตอนที่ 1 และ 2 ผมพูดถึงสิ่งที่ทำร้ายอายุแบตเตอรี่กล้องมากที่สุดสองประการ คือ สภาพไฟในการเก็บ และ อุณหภูมิในการเก็บ พร้อมกับแนะนำว่า การเก็บแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง ควรเก็บในอุณหภูมิ 0 องศา ในสภาพไฟ 40% จะทำให้แบตอายุยืนที่สุด ทฤษฎีเราได้ทราบกันไปหมดแล้ว ในสัปดาห์นี้ ผมจะมาแนะนำวิธีง่ายๆที่เราทุกคนสามารถปฏิบัติเพื่อเก็บแบตอย่างถูกวิธีกัน ครับ ในบ้านของเรามีสถานที่ๆอุณหภูมิเย็นใกล้เคียง 0 องศาอยู่แล้ว ก็คือตู้เย็นนั่นเอง คุณสามารถเก็บแบตไว้ในตู้เย็นได้ แต่ต้องเป็นช่องข้างล่าง ไม่ใช่ช่องแช่แข็งนะครับ ในช่องแช่แข็ง อุณหภูมิจะติดลบ เย็นเกินไปเดี๋ยวแบตเตอรี่จะบวมเหมือนกระป๋องเบียร์ที่คุณพ่อบ้านนำไปแช่ไว้ แล้วลืม พอเอาออกมา มันก็บวมฉึ่งเลย ตู้เย็น (ข้างล่าง) ทั่วไปอุณหภูมิจะอยู่ราวๆ 2-5 องศา แม้จะไม่ใช่ 0 องศาแต่ก็นับว่าเย็นเพียงพอครับ แต่อย่าเพิ่งโยนแบตเข้าไปในตู้เย็นตอนนี้เลยนะครับ จะเก็บก็ต้องมีขั้นตอนนิดหน่อย 1) ทำให้แบตเตอรี่มีไฟที่ระดับ 40% หรือกะเอาให้มีไฟประมาณครึ่งหนึ่ง 2) หาถุงพลาสติคมาสองใบ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงก๊อบแก๊บอะไรก็ได้ครับ ขอให้มันไม่รั่วก็พอ 3) หาสารดูดความชื้น ถ้าใครมีซิลิก้าเจล ก็ใช้ได้ ถ้ายังไม่มี ก็ไม่ต้องยุ่งยากอะไรมากครับ หาซื้อขนมพวก โดโซะ ชินมัย หรือ สาหร่ายอบกรอบที่เด็กๆชอบทานกัน ในซองขนมพวกนี้จะมีซองดูดความชื้นอยู่ นั่นแหละ เอามาใช้ได้เลยครับ 4) เอาแบตเตอรี่ใส่ลงไปในถุงพร้อมสารดูดความชื้น รีดอากาศออกให้ถุงแบนๆที่สุด มัดด้วยหนังยาง แล้วซ้อนถุงชั้นที่สอง มัดหนังยางเช่นกันครับ 5) นำไปวางในตู้เย็น เห็นไหมครับว่าไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย การที่ผมให้ใส่ถุงแล้วใส่ซองกันชื้นไว้ด้วย เพื่อตอนที่นำออกมาไงครับ หากคุณนำแบตเตอรี่ไปวางในตู้เย็นเฉยๆ ตอนเอาออกมา ไอน้ำจะเกาะแบตเตอรี่ใช่ไหมครับ ซึ่งมันอาจจะทำให้เกิดสนิมหรืออาจทำให้แผงวงจรภายในแบตมีปัญหาได้ ผมถึงให้ใส่ถุงพร้อมสารดูดความชื้นเอาไว้ เมื่อนำออกมาใช้งาน ก็รอสัก 20 นาทีให้หายเย็นก่อน ค่อยนำออกมาจากถุง แล้วจึงนำไปชาร์จ ใช้งานตามปกติได้เลย อ้อ แถมคำแนะนำอีกนิดว่า ควรนำแบตเตอรี่มาใช้งานบ้างสักหนึ่งครั้งต่อสามถึงหกเดือน แล้วจึงเก็บใหม่ด้วยกระบวนการเดียวกัน ด้วยวิธีเก็บแบบง่ายๆเพียงเท่านี้เองครับ แบตเตอรี่กล้องชนิด ลิเธี่ยมไออ้อน ของคุณก็จะอายุยืน อยู่ยงคงกระพันไปได้อีกนานอีกห้าปี หรือ สิบปี ได้อย่างสบายๆแน่นอนครับ
Credit : www.oskabatt.com
"เหตระกูล" ชื่อแห่งตำนาน "เดลินิวส์"
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2539)
สมบัติมีค่าชิ้นสำคัญที่แสง เหตระกูลรักมากๆ คือกิจการหนังสือพิมพ์ "เดลินิวส์"
ถือเป็น CASH COW ที่ผลิตน้ำนมศักดิ์สิทธ์ป้อนลูกหลานเหตระกูลจนกระทั่งมีธุรกิจเติบใหญ่ถึงทุกวันนี้
ท่ามกลางทศวรรษใหม่แห่งการเผชิญหน้ากันของพลังเก่าและพลังใหม่
การรักษาสมบัติเก่าแก่ 30 ปีที่เปรียบเสมือนกงสีของเหตระกูล ถือเป็นภารกิจของทายาทเศรษฐีรุ่นต่อไปที่ต้องพิสูจน์ ความเป็นเหตระกูลที่โดดเด่นคือ ระบบบริหารแบบครอบครัวใหญ่นั่นเป็นเพราะภูมิหลังครอบครัวของ แสง เหตระกูลและคุณนายไซ่กี มีลูกชายหญิงมากถึง 13 คน (ลูกสาวคนที่สี่เสียชีวิตขณะอายุ 3 ขวบ) ชื่อของลูกทุกคนเตี่ยตั้งใจจะให้ขึ้นต้นด้วย "ประ" นับตั้งแต่ประสิทธิ์ ประพันธ์ ประสงค์ นายแพทย์ประสาน ประไพ ประพีร์ ประชา พล.ต.ต.ประเสริฐ ประทักษ์ ประภา ประทิน และประพิณ (ดูสาแหรกเหตระกูลประกอบ)
ลูกทั้งสิบสองคนต่างได้ชื่อว่าเป็นนักเรียนนอก ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา เว้นแต่ประพันธ์จบญี่ปุ่น ประชาและประไพจบอังกฤษ ทั้งนี้เพราะเตี่ยแสง เหตระกูลยึดมั่นหลักว่า "ไม่มีสิ่งใดประเสริฐเท่ากับบุตรหลานมีการศึกษาทุกๆ คน" และ "สอนให้บุตรรู้จักขยันประกอบการงาน ต่อสู้กับอุปสรรคดีกว่าทิ้งสมบัติไว้ให้มากมาย"
ตำนานของเดลินิวส์เกิดขึ้นจากแสง เหตระกูลเป็นคนช่างฝัน ในตอนค่ำหลังจากงานลูกจ้างในโรงพิมพ์จีนตงหนำที่สี่แยกวัดตึกสิ้นสุดแล้ว แสงจะฝันเสมอว่า อยากเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่ใหญ่มีเกียรติศักดิ์ศรี เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่คนต้องซื้อข่าวเที่ยงธรรมและกล้าหาญ
แสงเริ่มทอฝันให้เป็นจริง ด้วยเงินทุน 2,000 บาทเข้าเทกโอเวอร์ "โรงพิมพ์ตงซัว" สี่พระยาที่เจ้าของเดิมประกาศขายถูกๆ เพื่อหนีภัยระเบิด แสงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงพิมพ์ประชาช่าง รับงานพิมพ์แบบเรียนและต่อมาในปี 2493 แสงก็ซื้อหัวและคนหนังสือพิมพ์ "กรุงเทพเดลิเมล์" ของหลุยส์ คีรีวัฒน์มาทำต่อ
จากรายปักษ์ "เดลิเมล์วันจันทร์" สู่หนังสือพิมพ์รายวัน "เดลิเมล์" ฉบับปฐมฤกษ์ 24 มิ.ย. 2493 แสงเป็นนักธุรกิจหนังสือพิมพ์ดำเนินธุรกิจถูกทาง ค่ายเดลิเมล์ยุคต้นๆ ได้ออกหนังสือติดตลาดอีกหลายเล่ม เช่น น.ส.พ.กรอบบ่าย "บางกอกเดลิเมล์" และ "เดลิเมล์เบื้องหลังข่าว" รายปักษ์ ด้วยนโยบายข่าวเจาะข่าวชาวบ้าน กับบทความที่เร้าใจคนยุคนั้น
แต่ตำนานต่อสู้ยุคเผด็จการครองเมือง แสงก็มีวันเวลาอันเจ็บปวดจากมรสุมการเมืองที่โหมกระหน่ำ ครั้งนั้นราเชนทร์ วัฒนปรีชากุลได้เขียนไว้ในความทรงจำการต่อสู้ว่า
"ทางราชการตำรวจโดยคำสั่งคณะปฏิวัติ ได้มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์เดลิเมล์รายวันอย่างไม่มีกำหนดโดยระบุให้ยึดปิด แท่นพิมพ์ ห้ามทำการพิมพ์จนกว่าจะมีคำสั่งอนุญาตเป็นอย่างอื่น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำครั่งมาประทับแท่นพิมพ์พร้อมกับใช้โซ่ล่ามแท่นอย่าง แน่นหนา โดยมีหนังสือพิมพ์เดลิเมล์รายวันฉบับสุดท้ายติดคาอยู่ในแท่นพิมพ์ ไม่ทันได้โผล่โฉมออกมาอีกเลย"
คราวเคราะห์ร้าย นายห้างแสงต้องต่อสู้กับมันด้วยความอดทน จึงสามารถฝ่าข้ามพ้นไปได้ แต่แสงต้องฝ่ามรสุมการเมืองถึง 7 ปีจึงเปิดหนังสือพิมพ์ในชื่อใหม่ว่า "แนวหน้าแห่งยุค เดลินิวส์" ในวันที่ 27 มีนาคม 2507 ซึ่งถือเป็นวันกำเนิดเดลินิวส์
"งานชิ้นแรกในชีวิตเตี่ย คือการเป็นครู จึงทำให้ท่านต้องคลุกคลีกับหนังสือและคงเป็นจิตใต้สำนึกชนิดหนึ่ง ผลักดันให้ท่านเข้ามาอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์ และเป็นงานชิ้นสุดท้ายของท่าน ท่านได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในงานฉลองครบรอบปีที่ 17 ของเดลินิวส์ว่า "หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่ใช่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นของทุกคน" นี่คือบันทึกข้อเขียนของลูกที่คัดจากเดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2525
นอกจากงานผู้อำนวยการเดลินิวส์ยุคแรกแล้ว นายห้างแสงซึ่งมีความรู้ทั้งภาษาไทยและจีน เพราะเคยเป็นครูสอนภาษาจีนที่โรงเรียนท่าม่วง ได้แต่งหนังสือ "หัดพูดไทย ภายใน 6 เดือน" ให้กับชาวสิงคโปร์และมาเลเซีย รวมทั้งใช้นามปากกา "แสงโสม" กับงานแปลคติพจน์ต่างประเทศ และยังได้เขียนตำราการดูลักษณะสตรีในเดลินิวส์ด้วย
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จึงเป็นสมบัติเหตระกูลชิ้นแรกและชิ้นสุดท้ายที่แสงตั้งใจทำให้แก่ลูกๆ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีวันที่คนในครอบครัวเหตระกูลจะนำเดลินิวส์เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัท มหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทุกวันนี้เดลินิวส์จึงมีลักษณะเป็นกงสี ขณะเดียวกันพี่น้องแต่ละคนก็มีธุรกิจส่วนตัวของตนเองตามสไตล์และสายสัมพันธ์ เครือข่ายธุรกิจ
คนแรกที่ก้าวไปลงทุนนอกเดลินิวส์ก่อนคนอื่นๆ คือประพันธ์ซึ่งเป็นลูกชายคนที่สองซึ่งมีสไตล์พ่อค้าญี่ปุ่น เนื่องจากเรียนจบจากญี่ปุ่น ทำให้คบค้าสมาคมนักธุรกิจญี่ปุ่น จนสามารถชักชวนมาร่วมลงทุนทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายนมเปรี้ยว "ยาคูลท์" ในปี 2512 จนประสบความสำเร็จและมีฐานะธุรกิจมั่นคง
ยาคูลท์ดูเสมือนจะอยู่ในสายเลือดของประพันธ์มาก ลูกชายหญิงทั้งสามไม่ว่ากิติพันธ์หรือเบิ้ม กนกพร และกนกพรรณ โดยเฉพาะลูกสาวที่ประพันธ์รักมาก ที่มีอายุเพียง 7 วันจนถึงขณะนี้อายุ 26 ปี จะไม่เคยท้องเสียเลย เพราะประพันธ์จะบังคับให้ลูกๆ ดื่มยาคูลท์วันละขวดโดยเชื่อว่าจะป้องกันโรงทางเดินอาหารได้
ทุกวันนี้ประพันธ์จะคลายเครียดด้วยวิธีเช่าหนังวิดีโอฝรั่งนับสิบม้วน แต่เรื่องที่ประพันธ์ชอบมากที่สุด เรื่องหนึ่งคือ เรื่อง "BABY'S DAY OUT" ซึ่งหนังเบาสมองเกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กทารกที่คลานไปทั่วเมือง ประพันธ์ ชอบทานข้าวราดแกงกะหรี่เนื้อแต่เกลียดปลาร้าจับใจ
แสงเห็นแววลูกชายคนนี้จะไปไกล ทั้งๆ ที่ประสิทธิ์เป็นลูกชายคนโต จึงดึงตัวประพันธ์มาช่วยบริหารในฐานะบรรณาธิการของเดลินิวส์ในยุคต้นๆ ซึ่งเป็นยุคเปิดโปงรัฐบาลโดยนักข่าวและคอลัมนิสต์ปากคมกล้า ในปี 2510 ประพันธ์ต้องขึ้นศาลในคดีประวัติศาสตร์แรกเกี่ยวกับเสนอข่าวทุจริต คอร์รัปชันของการจัดซื้อที่ดิน ของเทศบาลกรุงเทพมหานคร โดยใช้สำนักกฎหมายของมารุต บุนนาคเป็นทนายประจำตระกูล
ต่อมายุคสิงโตฮึ่มๆ ที่มีสุเทพ เหมือนประสิทธิเวช เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ จัดได้ว่าเป็นยุคที่เดลินิวส์เฟื่องจัดแต่มีคดีฟ้องร้องมาก เนื่องจากรวมนักคิดนักเขียนปากกาคมไว้หลายคน เช่น สุคนธ์ ชัยอารีย์ โรจน์ งามแม้นหรือเปลว สีเงิน ใหญ่ ท่าไม้ สมชาย ฤกษ์ดี บรรเจิด ทวี วิภา สุขกิจ และ ชัย ราชวัตร นักเขียนการ์ตูนล้อการเมือง
อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในฐานะบรรณาธิการเดลินิวส์ ประพันธ์ก็เป็นพ่อค้าจีนที่ยึดคติว่า ถ้าค้าความสู้กินขี้หมาดีกว่า ดังนั้นเมื่อมีคดีความอื่นใดที่คิดว่าพอจะรอมชอม หรือเกี๋ยะเซี้ยะกันได้ ประพันธ์ก็จะใช้ความสามารถส่วนตัวลงไปเจรจาเอง แทนจะใช้ทนายความ ต่างกับประชา เหตระกูล บรรณาธิการคนปัจจุบันที่มีมาดสุภาพบุรุษอังกฤษ มักจะให้ทุกเรื่องผ่านทนาย แม้กระทั่งต้นฉบับของข่าวหรือบทความก็ผ่านที่ปรึกษากฎหมายเช่นกัน
ความแตกต่างกันระหว่างสองพี่น้องที่โดดเด่นอย่าง ประพันธ์กับประชา นอกจากความสูงต่ำดำขาวที่เป็นรูปพรรณภายนอกแล้ว ความสปอร์ตใจกว้างของประชาดูจะมีมากกว่าพี่ชาย ลบคำสบประมาทที่ว่าคนในเหตระกูลตระหนี่ไปได้สิ้นเชิง เพราะครั้งหนึ่งเพื่อนเก่าอัสสัมชัญประสบเหตุเพลิงไหม้ร้านสุกี้จนวอดวาย ประชาและเพื่อนอัสสัมชัญคนอื่นๆ อีกสิบคนทราบข่าวก็นัดกินเลี้ยงตั้งวงแชร์ ลงขันเซ็นเช็คกันให้คนละ 2 ล้านทันที แต่สำหรับภายในเดลินิวส์ ความใจกว้างเหมือนทะเลคงเป็นเช่นกัน
บทบาทของประภาจัดได้ว่าเด่นที่สุดในบรรดาลูกสาวทั้งห้าของนายห้าง แสง สมองอันปราดเปรื่องด้านการค้าการเงินของประภาเป็นที่ถูกใจของเตี่ยมากจนเอ่ย ปากชม และเสียดายที่ประภาไม่เกิดเป็นลูกผู้ชาย ประภาจะทำหน้าที่เป็นคู่คิดร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการให้กับธุรกิจของประชา และประพันธ์ซึ่งต่างคนต่างเก่ง
ประภาจะมีหลานรักคนหนึ่งชื่อ "สายฝน" ซึ่งเป็นลูกสาวของหมอประสานที่เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ปี 2514 เข้ามาช่วยงานคุมด้านการเงินในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน ซึ่งครั้งหนึ่งมารดาคือบุญย้อยเคยทำหน้าที่นี้ นอกจากนี้ยังมีชนาทิพย์ ตันตโดม ลูกสาวคนโตของประไพร่วมคุมการเงินในฐานะผู้ช่วยผจก.ด้วย
หลังจากมรณกรรมของแสง เหตระกูลในปี 2524 คุณนายไซ่กีเป็นผู้รับภาระดูแลลูกหลานต่อไป ขณะที่สมบัติพัสถานก็เฉลี่ยให้ทายาททั้ง 12 คนเท่าๆ กันในลักษณะถือเดลินิวส์เป็นกงสี และทุกคนต้องมีสิทธิ์ถือหุ้นเท่ากันในกิจการเครือเดลินิวส์ เช่นบริษัทแสงเอ็นเตอร์ไพร์สซึ่งก่อตั้งในปี 2536 ก็มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทสี่พระยาการพิมพ์ บริษัทประชุมช่างและกลุ่มพี่น้องเหตระกูลถือหุ้นคนละ 500 หุ้นเท่ากัน
"ประโยคที่ 'เตี่ย' พูดเสมอว่า ให้เราสามัคคีกัน อย่าแตกแยก ขอให้ 'เดลินิวส์' ต้องอยู่ตลอดเคียงคู่บ้าน คู่เมือง และดำรงไว้ด้วยความเป็นธรรมของสังคมตลอดไป" จากบันทึกของประทักษ์
พี่ใหญ่คือประสิทธ์รับสืบทอดตำแหน่งประธานกรรมการเดลินิวส์ ก่อนหน้านี้ประสิทธิ์ และประสงค์เคยดูแลกิจการบริษัทเซเว่นอัพ บอตเติลลิ่ง(กรุงเทพ) ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนของเตี่ยกับอาสวัสดิ์ แต่เมื่อขายกิจการเซเว่นอัพแล้วทั้งคู่ก็กลับเดลินิวส์ ประสิทธิ์ดูแลนโยบายทั่วไป ขณะที่ประสงค์ดูแลด้านการผลิตและนับว่าเป็นหนึ่งในเหตระกูลที่สะสมที่ดินมากที่สุดคนหนึ่ง ในสายของประสงค์จะมีลูกทั้งสามที่เกิดจากสุดา โอสถานุเคราะห์เข้ามาช่วยเดลินิวส์ ได้แก่ ปารวดีคุมโฆษณา ปารเมศคุมเทคนิคและการผลิต ส่วนปฎิภานเป็นผู้ช่วยผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ
ขณะที่ประชา เหตระกูล ที่มีลูกชายสามคนคือ ดอม ดล และแดน ชื่อแปลกๆ ของลูกนี้ ประชาเป็นคนตั้งเอง โดยเล่าให้กับนิตยสารจีเอ็มฉบับปักษ์หลังพฤศจิกายนว่า
"ผมชอบชื่อสั้นๆ ง่ายๆ ไม่เหมือนชื่อคนบางคน อ่านยาก เขียนยาก มีสระอิตรงตัวสุดท้ายแถมด้วยการันต์สะกดถูก สะกดผิด มั่วไปหมด ก็คิดว่าชื่อดอมนี่แหละ ง่ายดี ผมคิดเอง ไม่มีความหมาย แต่เห็นว่าแปลกสั้นๆ เป็นทั้งชื่อจริงและชื่อเล่นได้หมด"
ลักษณะแฟมิลี่แมนที่ประชาให้เวลาและเข้มงวดกับลูกมาก ทำให้ประชาหลีกเลี่ยงการประชุมตอนเย็นเพื่อกลับมาดูแลลูก โดยเฉพาะช่วงศุกร์-เสาร์ อย่างไรก็ตามการเป็น "พ่อของนายแบบชื่อดัง" อย่างดอมก็มีอารมณ์เหมือนกันเมื่อลูกถ่ายแบบเดินแบบมากจนละเลยการเรียน ประชาจะโมโหมากๆ ถึงกับบอกว่า "ถ้าอยากได้เงิน พ่อให้ก็ได้" "แต่ดอมก็รู้ว่าพ่อห่วง แต่ผมอยากจะหาเงินได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเหมือนกัน"
ภายใต้ระบบการบริหารเดลินิวส์แบบครอบครัว หากพี่น้องคุยกันไม่รู้เรื่องก็จะเกิดเรื่องทำนอง "ฟ้องแม่" ให้จัดการดีกว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อสมัยทนายประจำตระกูลอย่างมารุต บุนนาคได้เป็นรมว.สาธารณสุขและได้เลือกปลัดกระทรวงคนใหม่โดยคำนึงอาวุโส ขณะที่แคนดิเดทอีกคนที่เป็นเพื่อนประสิทธิ์โกรธมารุตและเอาข้อเขียนติเตียน มารุตไปให้ประสิทธิ์ ซึ่งประสิทธิ์จะนำลงตีพิมพ์ในเดลินิวส์ แต่ยังไม่ทันตีพิมพ์ ประพันธ์ก็ได้รับรู้และขอให้พี่ชายระงับ แต่พี่ไม่ยอม ในที่สุดประพันธ์ก็บอกแม่ คืนนั้นทั้งคืนประสิทธิ์ต้องก้มหน้ารับฟังคำอบรมสั่งสอนจากแม่ว่า "ลูกรู้หรือเปล่า เตี่ยสั่งไว้ว่าอย่างไร ต้องให้ความเคารพนับถือคุณมารุตไว้ ยอมให้เพื่อนดีกว่าผู้ใหญ่ที่เตี่ยนับถือได้อย่างไร?" ในที่สุดประสิทธิ์ก็ยอมแพ้แต่บ่นรำพึงกับคนใกล้ชิดว่า
"เรื่องนี้ผมไม่เอา ไม่ยุ่งแล้ว คุณรู้ไหมว่าประพันธ์ไปฟ้องแม่ แม่ด่าผมทั้งคืนเลย" เรื่องนี้จบลงเพราะแม่แท้ๆ
แม้สิ้นเตี่ย แต่แม่ที่เป็นที่รักก็ยังเป็นศูนย์รวมของลูกๆ คุณนายไซ่กียังเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรใหญ่ ทุกวันจะมีอาหารกลางวันที่เตรียมจัดมาจากบ้านใหญ่ที่อโศก ลูกๆ ทุกคนจะร่วมกันรับประทานอาหารที่เดลินิวส์ หลังจากนั้นคุณนายไซ่กีก็จะพักสักครู่ก่อนที่กลับไปพำนักอยู่บ้านใหญ่ที่แวด ล้อมด้วยบ้านลูกๆ 5 หลังรายรอบบริเวณถนนอโศก อันเป็นที่ดินแปลงใหญ่ไม่ต่ำกว่า 4 ไร่ โดยแต่เดิมโรงเรียนอโศกวิทย์ของเหตระกูลจะปลูกอยู่ส่วนหนึ่ง
แต่ภายหลังเมื่อถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างขยายถนน ส่วนหนึ่งได้แยกไปคือ ครอบครัวของประพันธ์และประทักษ์ แต่บางวันประพันธ์ก็ไปนอนคุยกับแม่ที่อโศกเช่นเดียวกับประทักษ์ ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของแม่ ซึ่งมีแนวความคิดแปลกแยกจากพี่น้อง ไม่ว่าแนวทำธุรกิจสวนอาหารป่า "เซซาโว" บนถนนงามวงศ์วานที่ดังมากในอดีต โดยมีไตรรัตน์ สุนทรประภัสสร์ซึ่งขณะนี้เป็นบรรณาธิการบริหาร น.ส.พ. "สื่อธุรกิจ" เป็นผู้จัดการร้านเซซาโวให้ แต่ปัจจุบันร้านเซซาโวเลิกร้างกิจการไปนานแล้ว แต่ประทักษ์ก็ยังนิยมเลี้ยงสัตว์ป่ากิ้งก่ายักษ์ พังพอน นกปลานานาชนิดไว้หน้าปากทางเข้าเดลินิวส์ที่ถนนวิภาวดีรังสิต
นอกจากนี้ ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่ประทักษ์มีอยู่คือการสะสมรถยนต์ยี่ห้อเมอร์เซ-เดสเบนซ์ไม่ต่ำกว่า 50 คันที่จอดเรียงรายละลานตาบนลานจอดรถที่ตึกเดลินิวส์ และส่วนหนึ่งที่ประตูทางเข้าเดลินิวส์
วิถีวีรบุรุษสำราญอย่างประทักษ์แม้ไม่เป็นไปดังที่ครอบครัวคาดหวัง ไว้ และบางครั้งจะทำไม่ได้ตามคำสั่งสอนของเตี่ยที่ว่า "ถ้าคนใดคิดว่าตัวเองรวย คนนั้นจะไม่มีวันรวย" ดังที่ประทักษ์เขียนถึงในงานสร้างสุสาน "แสง เหตระกูล" ที่อำเภอบ่อฝ้าย หัวหิน ซึ่งสร้างด้วยหยาดเหงื่อและแรงงานที่ต้องบุกป่าฝ่าดงของประทักษ์กับลูกมือ และสิ้นค่าใช้จ่ายสูงมาก
"กระผมคิดว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สุดท้ายของเตี่ย กระผมจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่กระผมจะเนรมิตได้ ทั้งๆ ที่คำสั่งสอนของที่เตี่ยให้กับพวกเราไว้ว่า ถ้าคนใดคิดว่าตัวเองรวย คนนั้นจะไม่มีวันรวย คำประโยคนี้จึงเป็นต้องค้านกับการก่อสร้าง กระผมยอมรับว่า พี่ๆ น้องๆ และกระผมโชคดีที่เกิดมาสบาย ไม่เหมือนชีวิตของเตี่ยและแม่หรือหลายๆ ชีวิต แต่ทั้งนี้แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ทุกอย่างในโลกมนุษย์มันต้องสู้จึงจะสำเร็จได้ด้วยดี" ตอนหนึ่งในบันทึกของประทักษ์
ต่างคนก็ต่างวิถี แต่ท่ามกลางทศวรรษใหม่แห่งการเผชิญหน้ากันของพลังเก่าและพลังใหม่จากภายนอก กับปัญหาภายในที่ต่างคนต่างเก่งที่ต้องเร่งสร้างเอกภาพการจัดการ การรักษาสมบัติเก่าแก่ 30 ปีที่เปรียบเสมือนกงสีของเหตระกูล ถือเป็นวิสัยทัศน์และภารกิจของทายาทเศรษฐีรุ่นต่อไปที่ต้องพิสูจน์
Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2539)
สมบัติมีค่าชิ้นสำคัญที่แสง เหตระกูลรักมากๆ คือกิจการหนังสือพิมพ์ "เดลินิวส์"
ถือเป็น CASH COW ที่ผลิตน้ำนมศักดิ์สิทธ์ป้อนลูกหลานเหตระกูลจนกระทั่งมีธุรกิจเติบใหญ่ถึงทุกวันนี้
ท่ามกลางทศวรรษใหม่แห่งการเผชิญหน้ากันของพลังเก่าและพลังใหม่
การรักษาสมบัติเก่าแก่ 30 ปีที่เปรียบเสมือนกงสีของเหตระกูล ถือเป็นภารกิจของทายาทเศรษฐีรุ่นต่อไปที่ต้องพิสูจน์ ความเป็นเหตระกูลที่โดดเด่นคือ ระบบบริหารแบบครอบครัวใหญ่นั่นเป็นเพราะภูมิหลังครอบครัวของ แสง เหตระกูลและคุณนายไซ่กี มีลูกชายหญิงมากถึง 13 คน (ลูกสาวคนที่สี่เสียชีวิตขณะอายุ 3 ขวบ) ชื่อของลูกทุกคนเตี่ยตั้งใจจะให้ขึ้นต้นด้วย "ประ" นับตั้งแต่ประสิทธิ์ ประพันธ์ ประสงค์ นายแพทย์ประสาน ประไพ ประพีร์ ประชา พล.ต.ต.ประเสริฐ ประทักษ์ ประภา ประทิน และประพิณ (ดูสาแหรกเหตระกูลประกอบ)
ลูกทั้งสิบสองคนต่างได้ชื่อว่าเป็นนักเรียนนอก ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา เว้นแต่ประพันธ์จบญี่ปุ่น ประชาและประไพจบอังกฤษ ทั้งนี้เพราะเตี่ยแสง เหตระกูลยึดมั่นหลักว่า "ไม่มีสิ่งใดประเสริฐเท่ากับบุตรหลานมีการศึกษาทุกๆ คน" และ "สอนให้บุตรรู้จักขยันประกอบการงาน ต่อสู้กับอุปสรรคดีกว่าทิ้งสมบัติไว้ให้มากมาย"
ตำนานของเดลินิวส์เกิดขึ้นจากแสง เหตระกูลเป็นคนช่างฝัน ในตอนค่ำหลังจากงานลูกจ้างในโรงพิมพ์จีนตงหนำที่สี่แยกวัดตึกสิ้นสุดแล้ว แสงจะฝันเสมอว่า อยากเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่ใหญ่มีเกียรติศักดิ์ศรี เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่คนต้องซื้อข่าวเที่ยงธรรมและกล้าหาญ
แสงเริ่มทอฝันให้เป็นจริง ด้วยเงินทุน 2,000 บาทเข้าเทกโอเวอร์ "โรงพิมพ์ตงซัว" สี่พระยาที่เจ้าของเดิมประกาศขายถูกๆ เพื่อหนีภัยระเบิด แสงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงพิมพ์ประชาช่าง รับงานพิมพ์แบบเรียนและต่อมาในปี 2493 แสงก็ซื้อหัวและคนหนังสือพิมพ์ "กรุงเทพเดลิเมล์" ของหลุยส์ คีรีวัฒน์มาทำต่อ
จากรายปักษ์ "เดลิเมล์วันจันทร์" สู่หนังสือพิมพ์รายวัน "เดลิเมล์" ฉบับปฐมฤกษ์ 24 มิ.ย. 2493 แสงเป็นนักธุรกิจหนังสือพิมพ์ดำเนินธุรกิจถูกทาง ค่ายเดลิเมล์ยุคต้นๆ ได้ออกหนังสือติดตลาดอีกหลายเล่ม เช่น น.ส.พ.กรอบบ่าย "บางกอกเดลิเมล์" และ "เดลิเมล์เบื้องหลังข่าว" รายปักษ์ ด้วยนโยบายข่าวเจาะข่าวชาวบ้าน กับบทความที่เร้าใจคนยุคนั้น
แต่ตำนานต่อสู้ยุคเผด็จการครองเมือง แสงก็มีวันเวลาอันเจ็บปวดจากมรสุมการเมืองที่โหมกระหน่ำ ครั้งนั้นราเชนทร์ วัฒนปรีชากุลได้เขียนไว้ในความทรงจำการต่อสู้ว่า
"ทางราชการตำรวจโดยคำสั่งคณะปฏิวัติ ได้มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์เดลิเมล์รายวันอย่างไม่มีกำหนดโดยระบุให้ยึดปิด แท่นพิมพ์ ห้ามทำการพิมพ์จนกว่าจะมีคำสั่งอนุญาตเป็นอย่างอื่น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำครั่งมาประทับแท่นพิมพ์พร้อมกับใช้โซ่ล่ามแท่นอย่าง แน่นหนา โดยมีหนังสือพิมพ์เดลิเมล์รายวันฉบับสุดท้ายติดคาอยู่ในแท่นพิมพ์ ไม่ทันได้โผล่โฉมออกมาอีกเลย"
คราวเคราะห์ร้าย นายห้างแสงต้องต่อสู้กับมันด้วยความอดทน จึงสามารถฝ่าข้ามพ้นไปได้ แต่แสงต้องฝ่ามรสุมการเมืองถึง 7 ปีจึงเปิดหนังสือพิมพ์ในชื่อใหม่ว่า "แนวหน้าแห่งยุค เดลินิวส์" ในวันที่ 27 มีนาคม 2507 ซึ่งถือเป็นวันกำเนิดเดลินิวส์
"งานชิ้นแรกในชีวิตเตี่ย คือการเป็นครู จึงทำให้ท่านต้องคลุกคลีกับหนังสือและคงเป็นจิตใต้สำนึกชนิดหนึ่ง ผลักดันให้ท่านเข้ามาอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์ และเป็นงานชิ้นสุดท้ายของท่าน ท่านได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในงานฉลองครบรอบปีที่ 17 ของเดลินิวส์ว่า "หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่ใช่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นของทุกคน" นี่คือบันทึกข้อเขียนของลูกที่คัดจากเดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2525
นอกจากงานผู้อำนวยการเดลินิวส์ยุคแรกแล้ว นายห้างแสงซึ่งมีความรู้ทั้งภาษาไทยและจีน เพราะเคยเป็นครูสอนภาษาจีนที่โรงเรียนท่าม่วง ได้แต่งหนังสือ "หัดพูดไทย ภายใน 6 เดือน" ให้กับชาวสิงคโปร์และมาเลเซีย รวมทั้งใช้นามปากกา "แสงโสม" กับงานแปลคติพจน์ต่างประเทศ และยังได้เขียนตำราการดูลักษณะสตรีในเดลินิวส์ด้วย
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จึงเป็นสมบัติเหตระกูลชิ้นแรกและชิ้นสุดท้ายที่แสงตั้งใจทำให้แก่ลูกๆ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีวันที่คนในครอบครัวเหตระกูลจะนำเดลินิวส์เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัท มหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทุกวันนี้เดลินิวส์จึงมีลักษณะเป็นกงสี ขณะเดียวกันพี่น้องแต่ละคนก็มีธุรกิจส่วนตัวของตนเองตามสไตล์และสายสัมพันธ์ เครือข่ายธุรกิจ
คนแรกที่ก้าวไปลงทุนนอกเดลินิวส์ก่อนคนอื่นๆ คือประพันธ์ซึ่งเป็นลูกชายคนที่สองซึ่งมีสไตล์พ่อค้าญี่ปุ่น เนื่องจากเรียนจบจากญี่ปุ่น ทำให้คบค้าสมาคมนักธุรกิจญี่ปุ่น จนสามารถชักชวนมาร่วมลงทุนทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายนมเปรี้ยว "ยาคูลท์" ในปี 2512 จนประสบความสำเร็จและมีฐานะธุรกิจมั่นคง
ยาคูลท์ดูเสมือนจะอยู่ในสายเลือดของประพันธ์มาก ลูกชายหญิงทั้งสามไม่ว่ากิติพันธ์หรือเบิ้ม กนกพร และกนกพรรณ โดยเฉพาะลูกสาวที่ประพันธ์รักมาก ที่มีอายุเพียง 7 วันจนถึงขณะนี้อายุ 26 ปี จะไม่เคยท้องเสียเลย เพราะประพันธ์จะบังคับให้ลูกๆ ดื่มยาคูลท์วันละขวดโดยเชื่อว่าจะป้องกันโรงทางเดินอาหารได้
ทุกวันนี้ประพันธ์จะคลายเครียดด้วยวิธีเช่าหนังวิดีโอฝรั่งนับสิบม้วน แต่เรื่องที่ประพันธ์ชอบมากที่สุด เรื่องหนึ่งคือ เรื่อง "BABY'S DAY OUT" ซึ่งหนังเบาสมองเกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กทารกที่คลานไปทั่วเมือง ประพันธ์ ชอบทานข้าวราดแกงกะหรี่เนื้อแต่เกลียดปลาร้าจับใจ
แสงเห็นแววลูกชายคนนี้จะไปไกล ทั้งๆ ที่ประสิทธิ์เป็นลูกชายคนโต จึงดึงตัวประพันธ์มาช่วยบริหารในฐานะบรรณาธิการของเดลินิวส์ในยุคต้นๆ ซึ่งเป็นยุคเปิดโปงรัฐบาลโดยนักข่าวและคอลัมนิสต์ปากคมกล้า ในปี 2510 ประพันธ์ต้องขึ้นศาลในคดีประวัติศาสตร์แรกเกี่ยวกับเสนอข่าวทุจริต คอร์รัปชันของการจัดซื้อที่ดิน ของเทศบาลกรุงเทพมหานคร โดยใช้สำนักกฎหมายของมารุต บุนนาคเป็นทนายประจำตระกูล
ต่อมายุคสิงโตฮึ่มๆ ที่มีสุเทพ เหมือนประสิทธิเวช เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ จัดได้ว่าเป็นยุคที่เดลินิวส์เฟื่องจัดแต่มีคดีฟ้องร้องมาก เนื่องจากรวมนักคิดนักเขียนปากกาคมไว้หลายคน เช่น สุคนธ์ ชัยอารีย์ โรจน์ งามแม้นหรือเปลว สีเงิน ใหญ่ ท่าไม้ สมชาย ฤกษ์ดี บรรเจิด ทวี วิภา สุขกิจ และ ชัย ราชวัตร นักเขียนการ์ตูนล้อการเมือง
อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในฐานะบรรณาธิการเดลินิวส์ ประพันธ์ก็เป็นพ่อค้าจีนที่ยึดคติว่า ถ้าค้าความสู้กินขี้หมาดีกว่า ดังนั้นเมื่อมีคดีความอื่นใดที่คิดว่าพอจะรอมชอม หรือเกี๋ยะเซี้ยะกันได้ ประพันธ์ก็จะใช้ความสามารถส่วนตัวลงไปเจรจาเอง แทนจะใช้ทนายความ ต่างกับประชา เหตระกูล บรรณาธิการคนปัจจุบันที่มีมาดสุภาพบุรุษอังกฤษ มักจะให้ทุกเรื่องผ่านทนาย แม้กระทั่งต้นฉบับของข่าวหรือบทความก็ผ่านที่ปรึกษากฎหมายเช่นกัน
ความแตกต่างกันระหว่างสองพี่น้องที่โดดเด่นอย่าง ประพันธ์กับประชา นอกจากความสูงต่ำดำขาวที่เป็นรูปพรรณภายนอกแล้ว ความสปอร์ตใจกว้างของประชาดูจะมีมากกว่าพี่ชาย ลบคำสบประมาทที่ว่าคนในเหตระกูลตระหนี่ไปได้สิ้นเชิง เพราะครั้งหนึ่งเพื่อนเก่าอัสสัมชัญประสบเหตุเพลิงไหม้ร้านสุกี้จนวอดวาย ประชาและเพื่อนอัสสัมชัญคนอื่นๆ อีกสิบคนทราบข่าวก็นัดกินเลี้ยงตั้งวงแชร์ ลงขันเซ็นเช็คกันให้คนละ 2 ล้านทันที แต่สำหรับภายในเดลินิวส์ ความใจกว้างเหมือนทะเลคงเป็นเช่นกัน
บทบาทของประภาจัดได้ว่าเด่นที่สุดในบรรดาลูกสาวทั้งห้าของนายห้าง แสง สมองอันปราดเปรื่องด้านการค้าการเงินของประภาเป็นที่ถูกใจของเตี่ยมากจนเอ่ย ปากชม และเสียดายที่ประภาไม่เกิดเป็นลูกผู้ชาย ประภาจะทำหน้าที่เป็นคู่คิดร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการให้กับธุรกิจของประชา และประพันธ์ซึ่งต่างคนต่างเก่ง
ประภาจะมีหลานรักคนหนึ่งชื่อ "สายฝน" ซึ่งเป็นลูกสาวของหมอประสานที่เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ปี 2514 เข้ามาช่วยงานคุมด้านการเงินในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน ซึ่งครั้งหนึ่งมารดาคือบุญย้อยเคยทำหน้าที่นี้ นอกจากนี้ยังมีชนาทิพย์ ตันตโดม ลูกสาวคนโตของประไพร่วมคุมการเงินในฐานะผู้ช่วยผจก.ด้วย
หลังจากมรณกรรมของแสง เหตระกูลในปี 2524 คุณนายไซ่กีเป็นผู้รับภาระดูแลลูกหลานต่อไป ขณะที่สมบัติพัสถานก็เฉลี่ยให้ทายาททั้ง 12 คนเท่าๆ กันในลักษณะถือเดลินิวส์เป็นกงสี และทุกคนต้องมีสิทธิ์ถือหุ้นเท่ากันในกิจการเครือเดลินิวส์ เช่นบริษัทแสงเอ็นเตอร์ไพร์สซึ่งก่อตั้งในปี 2536 ก็มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทสี่พระยาการพิมพ์ บริษัทประชุมช่างและกลุ่มพี่น้องเหตระกูลถือหุ้นคนละ 500 หุ้นเท่ากัน
"ประโยคที่ 'เตี่ย' พูดเสมอว่า ให้เราสามัคคีกัน อย่าแตกแยก ขอให้ 'เดลินิวส์' ต้องอยู่ตลอดเคียงคู่บ้าน คู่เมือง และดำรงไว้ด้วยความเป็นธรรมของสังคมตลอดไป" จากบันทึกของประทักษ์
พี่ใหญ่คือประสิทธ์รับสืบทอดตำแหน่งประธานกรรมการเดลินิวส์ ก่อนหน้านี้ประสิทธิ์ และประสงค์เคยดูแลกิจการบริษัทเซเว่นอัพ บอตเติลลิ่ง(กรุงเทพ) ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนของเตี่ยกับอาสวัสดิ์ แต่เมื่อขายกิจการเซเว่นอัพแล้วทั้งคู่ก็กลับเดลินิวส์ ประสิทธิ์ดูแลนโยบายทั่วไป ขณะที่ประสงค์ดูแลด้านการผลิตและนับว่าเป็นหนึ่งในเหตระกูลที่สะสมที่ดินมากที่สุดคนหนึ่ง ในสายของประสงค์จะมีลูกทั้งสามที่เกิดจากสุดา โอสถานุเคราะห์เข้ามาช่วยเดลินิวส์ ได้แก่ ปารวดีคุมโฆษณา ปารเมศคุมเทคนิคและการผลิต ส่วนปฎิภานเป็นผู้ช่วยผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ
ขณะที่ประชา เหตระกูล ที่มีลูกชายสามคนคือ ดอม ดล และแดน ชื่อแปลกๆ ของลูกนี้ ประชาเป็นคนตั้งเอง โดยเล่าให้กับนิตยสารจีเอ็มฉบับปักษ์หลังพฤศจิกายนว่า
"ผมชอบชื่อสั้นๆ ง่ายๆ ไม่เหมือนชื่อคนบางคน อ่านยาก เขียนยาก มีสระอิตรงตัวสุดท้ายแถมด้วยการันต์สะกดถูก สะกดผิด มั่วไปหมด ก็คิดว่าชื่อดอมนี่แหละ ง่ายดี ผมคิดเอง ไม่มีความหมาย แต่เห็นว่าแปลกสั้นๆ เป็นทั้งชื่อจริงและชื่อเล่นได้หมด"
ลักษณะแฟมิลี่แมนที่ประชาให้เวลาและเข้มงวดกับลูกมาก ทำให้ประชาหลีกเลี่ยงการประชุมตอนเย็นเพื่อกลับมาดูแลลูก โดยเฉพาะช่วงศุกร์-เสาร์ อย่างไรก็ตามการเป็น "พ่อของนายแบบชื่อดัง" อย่างดอมก็มีอารมณ์เหมือนกันเมื่อลูกถ่ายแบบเดินแบบมากจนละเลยการเรียน ประชาจะโมโหมากๆ ถึงกับบอกว่า "ถ้าอยากได้เงิน พ่อให้ก็ได้" "แต่ดอมก็รู้ว่าพ่อห่วง แต่ผมอยากจะหาเงินได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเหมือนกัน"
ภายใต้ระบบการบริหารเดลินิวส์แบบครอบครัว หากพี่น้องคุยกันไม่รู้เรื่องก็จะเกิดเรื่องทำนอง "ฟ้องแม่" ให้จัดการดีกว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อสมัยทนายประจำตระกูลอย่างมารุต บุนนาคได้เป็นรมว.สาธารณสุขและได้เลือกปลัดกระทรวงคนใหม่โดยคำนึงอาวุโส ขณะที่แคนดิเดทอีกคนที่เป็นเพื่อนประสิทธิ์โกรธมารุตและเอาข้อเขียนติเตียน มารุตไปให้ประสิทธิ์ ซึ่งประสิทธิ์จะนำลงตีพิมพ์ในเดลินิวส์ แต่ยังไม่ทันตีพิมพ์ ประพันธ์ก็ได้รับรู้และขอให้พี่ชายระงับ แต่พี่ไม่ยอม ในที่สุดประพันธ์ก็บอกแม่ คืนนั้นทั้งคืนประสิทธิ์ต้องก้มหน้ารับฟังคำอบรมสั่งสอนจากแม่ว่า "ลูกรู้หรือเปล่า เตี่ยสั่งไว้ว่าอย่างไร ต้องให้ความเคารพนับถือคุณมารุตไว้ ยอมให้เพื่อนดีกว่าผู้ใหญ่ที่เตี่ยนับถือได้อย่างไร?" ในที่สุดประสิทธิ์ก็ยอมแพ้แต่บ่นรำพึงกับคนใกล้ชิดว่า
"เรื่องนี้ผมไม่เอา ไม่ยุ่งแล้ว คุณรู้ไหมว่าประพันธ์ไปฟ้องแม่ แม่ด่าผมทั้งคืนเลย" เรื่องนี้จบลงเพราะแม่แท้ๆ
แม้สิ้นเตี่ย แต่แม่ที่เป็นที่รักก็ยังเป็นศูนย์รวมของลูกๆ คุณนายไซ่กียังเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรใหญ่ ทุกวันจะมีอาหารกลางวันที่เตรียมจัดมาจากบ้านใหญ่ที่อโศก ลูกๆ ทุกคนจะร่วมกันรับประทานอาหารที่เดลินิวส์ หลังจากนั้นคุณนายไซ่กีก็จะพักสักครู่ก่อนที่กลับไปพำนักอยู่บ้านใหญ่ที่แวด ล้อมด้วยบ้านลูกๆ 5 หลังรายรอบบริเวณถนนอโศก อันเป็นที่ดินแปลงใหญ่ไม่ต่ำกว่า 4 ไร่ โดยแต่เดิมโรงเรียนอโศกวิทย์ของเหตระกูลจะปลูกอยู่ส่วนหนึ่ง
แต่ภายหลังเมื่อถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างขยายถนน ส่วนหนึ่งได้แยกไปคือ ครอบครัวของประพันธ์และประทักษ์ แต่บางวันประพันธ์ก็ไปนอนคุยกับแม่ที่อโศกเช่นเดียวกับประทักษ์ ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของแม่ ซึ่งมีแนวความคิดแปลกแยกจากพี่น้อง ไม่ว่าแนวทำธุรกิจสวนอาหารป่า "เซซาโว" บนถนนงามวงศ์วานที่ดังมากในอดีต โดยมีไตรรัตน์ สุนทรประภัสสร์ซึ่งขณะนี้เป็นบรรณาธิการบริหาร น.ส.พ. "สื่อธุรกิจ" เป็นผู้จัดการร้านเซซาโวให้ แต่ปัจจุบันร้านเซซาโวเลิกร้างกิจการไปนานแล้ว แต่ประทักษ์ก็ยังนิยมเลี้ยงสัตว์ป่ากิ้งก่ายักษ์ พังพอน นกปลานานาชนิดไว้หน้าปากทางเข้าเดลินิวส์ที่ถนนวิภาวดีรังสิต
นอกจากนี้ ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่ประทักษ์มีอยู่คือการสะสมรถยนต์ยี่ห้อเมอร์เซ-เดสเบนซ์ไม่ต่ำกว่า 50 คันที่จอดเรียงรายละลานตาบนลานจอดรถที่ตึกเดลินิวส์ และส่วนหนึ่งที่ประตูทางเข้าเดลินิวส์
วิถีวีรบุรุษสำราญอย่างประทักษ์แม้ไม่เป็นไปดังที่ครอบครัวคาดหวัง ไว้ และบางครั้งจะทำไม่ได้ตามคำสั่งสอนของเตี่ยที่ว่า "ถ้าคนใดคิดว่าตัวเองรวย คนนั้นจะไม่มีวันรวย" ดังที่ประทักษ์เขียนถึงในงานสร้างสุสาน "แสง เหตระกูล" ที่อำเภอบ่อฝ้าย หัวหิน ซึ่งสร้างด้วยหยาดเหงื่อและแรงงานที่ต้องบุกป่าฝ่าดงของประทักษ์กับลูกมือ และสิ้นค่าใช้จ่ายสูงมาก
"กระผมคิดว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สุดท้ายของเตี่ย กระผมจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่กระผมจะเนรมิตได้ ทั้งๆ ที่คำสั่งสอนของที่เตี่ยให้กับพวกเราไว้ว่า ถ้าคนใดคิดว่าตัวเองรวย คนนั้นจะไม่มีวันรวย คำประโยคนี้จึงเป็นต้องค้านกับการก่อสร้าง กระผมยอมรับว่า พี่ๆ น้องๆ และกระผมโชคดีที่เกิดมาสบาย ไม่เหมือนชีวิตของเตี่ยและแม่หรือหลายๆ ชีวิต แต่ทั้งนี้แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ทุกอย่างในโลกมนุษย์มันต้องสู้จึงจะสำเร็จได้ด้วยดี" ตอนหนึ่งในบันทึกของประทักษ์
ต่างคนก็ต่างวิถี แต่ท่ามกลางทศวรรษใหม่แห่งการเผชิญหน้ากันของพลังเก่าและพลังใหม่จากภายนอก กับปัญหาภายในที่ต่างคนต่างเก่งที่ต้องเร่งสร้างเอกภาพการจัดการ การรักษาสมบัติเก่าแก่ 30 ปีที่เปรียบเสมือนกงสีของเหตระกูล ถือเป็นวิสัยทัศน์และภารกิจของทายาทเศรษฐีรุ่นต่อไปที่ต้องพิสูจน์
Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
The 35th anniversary of the liberation of south Vietnam
35 năm ngày giải phóng miền Nam
Date : 30-04-2010
วันนี้ 30 เมษายน 2553
เวียดนามฉลองครบรอบ 35 ปีการปลดปล่อยไซ่ง่อนและสิ้นสุดสงครามต่อต้านการรุกรานของสหรัฐอเมริกา
สุสานโฮจิมินห์ (Hochi Minh Mausoleum)
ต้องมาวันมีงานถึงจะได้ภาพมีธงมากมายอย่างนี้
Hồ Chí Minh
สุสานโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh' s Mausoleum) ตั้งอยู่บนถนนเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) บริเวณจัตุรัสบาสดิงห์ (Ba Dinh)
Date : 30-04-2010
วันนี้ 30 เมษายน 2553
เวียดนามฉลองครบรอบ 35 ปีการปลดปล่อยไซ่ง่อนและสิ้นสุดสงครามต่อต้านการรุกรานของสหรัฐอเมริกา
สุสานโฮจิมินห์ (Hochi Minh Mausoleum)
ต้องมาวันมีงานถึงจะได้ภาพมีธงมากมายอย่างนี้
Hồ Chí Minh
สุสานโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh' s Mausoleum) ตั้งอยู่บนถนนเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) บริเวณจัตุรัสบาสดิงห์ (Ba Dinh)
วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
งานฉลองสมรสพระราชทาน ร.ต.อ.อิทธิพล สังข์ประไพ ผู้จัดการทีม Nonthaburi FC
งานฉลองสมรสพระราชทาน
ร.ต.อ.อิทธิพล สังข์ประไพ บุตร พล.ต.ต.วิชัย-นางทิพยวรรณ สังข์ประไพ
กับ น.ส.ลินเกร รัสเซลล์ บุตรีนายเดวิด-นางจินดา รัสเซลล์
วันที่ 8 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมแชงกรีลา
เนื่องจากเจ้านายเพื่อน และเพื่อนผมรู้จักกับพ่อเจ้าบ่าว เย็นวันนี้ว่าง ๆ เลยไปเก็บช่วยเก็บภาพมาเล็ก ๆ น้อย ๆ
เน้นภาพท่านนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สำหรับลงข่าวภาพเดียว
ไปถึงก่อนหกโมงนิดหน่อย นายก อภิสิทธิ์ มาเร็วมากแทบเอากล้องออกจากกระเป๋าไม่ทัน ไม่ได้ตั้งตัวแต่ก็ยังพอรอดไปได้ กล้องเพื่อนก็มีถ่ายแต่เผื่อสำรองไว้จะได้แน่นอน
ร.ต.อ.อิทธิพล สังข์ประไพ หรือติว อายุครบ 33 ปี จบจากคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต สอบเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยอบรม รุ่น 23 ปัจจุบันเป็น นว.ผบก.น.1 เข้ารับการอบรมที่โรงเรียนสารวัตร รุ่น 102
เจ้าสาว ลินเกร รัสเซลล์ หรือ จี สาวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน วัย 31 ปี จบจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
ร.ต.อ.อิทธิพล สังข์ประไพ บุตร พล.ต.ต.วิชัย-นางทิพยวรรณ สังข์ประไพ
กับ น.ส.ลินเกร รัสเซลล์ บุตรีนายเดวิด-นางจินดา รัสเซลล์
วันที่ 8 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมแชงกรีลา
เนื่องจากเจ้านายเพื่อน และเพื่อนผมรู้จักกับพ่อเจ้าบ่าว เย็นวันนี้ว่าง ๆ เลยไปเก็บช่วยเก็บภาพมาเล็ก ๆ น้อย ๆ
เน้นภาพท่านนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สำหรับลงข่าวภาพเดียว
ไปถึงก่อนหกโมงนิดหน่อย นายก อภิสิทธิ์ มาเร็วมากแทบเอากล้องออกจากกระเป๋าไม่ทัน ไม่ได้ตั้งตัวแต่ก็ยังพอรอดไปได้ กล้องเพื่อนก็มีถ่ายแต่เผื่อสำรองไว้จะได้แน่นอน
ร.ต.อ.อิทธิพล สังข์ประไพ หรือติว อายุครบ 33 ปี จบจากคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต สอบเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยอบรม รุ่น 23 ปัจจุบันเป็น นว.ผบก.น.1 เข้ารับการอบรมที่โรงเรียนสารวัตร รุ่น 102
เจ้าสาว ลินเกร รัสเซลล์ หรือ จี สาวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน วัย 31 ปี จบจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Membership สนามกอล์ฟ [price for reference]
อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ
รายละเอียด:อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ
Membership Expire: Life Membership
Transfer Fee(Baht): 90,000
Monthly Fee(Baht): 25,000 / Year
or Pertime(Baht): -
Green Fees(Guest/Visitor)
Weekday(Baht): 1,500 / -
Holiday(Baht): 2,000 / -
รายละเอียด:อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ
Membership Expire: Life Membership
Transfer Fee(Baht): 90,000
Monthly Fee(Baht): 25,000 / Year
or Pertime(Baht): -
Green Fees(Guest/Visitor)
Weekday(Baht): 1,500 / -
Holiday(Baht): 2,000 / -
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Golf Course Directory and Green Fee Promotion 2009 [for reference]
Golf Course Directory and Green Fee Promotion 2009 [for reference]
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)