วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องที่คิดว่าน่าอ่าน “ถ่ายภาพบางทีก็ต้องใช้ทั้งฝีมือและโชค”

อภินันท์ บัวหภักดี บรรณาธิการฝ่ายภาพอนุสาร อสท.ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพทั้งบนบกและใต้น้ำแสดงความเห็นตามประสบการณ์ ที่ตนเคยเจอะเจอมา ซึ่งครั้งหนึ่งเขาคิดว่าเตรียมตัวมาดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเรื่องของสถานที่มาอย่างดี คำนวนแสง เงา หรือแม้แต่มุมถ่ายภาพ เรียกว่าถูกที่ถูกเวลา แต่เหมือนโชคชะตาไม่อำนวย เนื่องจากฟ้าปิดหมดหรือที่แย่ไปกว่านั้นเพราะบางทีฝนตกลงมา ในสถานการณ์อย่างนี้อภินันท์บอกว่าทำได้อย่างเดียวคือ “ทำใจ”

“นั่น เป็นปัญหาของการถ่ายภาพธรรมชาติ ซึ่งต้องให้ฟ้าฝนเป็นใจด้วย แต่สำหรับการถ่ายภาพวิถีชีวิตผู้คนซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของผมนั้น พูดตรงๆว่าต้องประกอบด้วยกันเป็น 2 ส่วนคือ เรื่องของการ Make และเรื่องของทีเผลอ มันก็ต้องได้ทั้ง 2 ส่วน รวมทั้งการร้อยเรียงภาพเข้ามาประกอบเรื่องด้วย เรื่องกับภาพต้องไปด้วยกัน สำหรับการถ่ายสารคดีท่องเที่ยว ความงามของภาพต้องนำมาก่อน ต้องมีอะไรหลากหลายกว่าภาพที่ประกวดทั่วไป ซึ่งภาพประกวดก็อาจจะแค่ภาพเดียวจบและภาพนั้นต้องสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ ในภาพเดียว แต่ภาพสารคดีมันจะเล่าเรื่องจากต้นไปจนจบ”





แต่ เหตุการณ์ฟ้าไม่เป็นใจอย่างในกรณีฟ้าปิดนั้น คงจะใช้ไม่ได้กับนพดล กันบัว ช่างภาพประจำอนุสาร อสท.เหตุเพราะพี่นพดลบอกว่าชอบมากหากมีภารกิจต้องไปถ่ายภาพในป่า เพราะการที่ไม่มีแดดส่องลงมาเลยนั้นทำให้ภาพต้นไม้ใบหญ้าไม่มีเงาทอดผ่าน ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดได้ทุกซอกทุกมุม แต่ที่ชอบที่สุดเห็นจะเป็นการถ่ายภาพน้ำตก ซึ่งพี่นพดลบอกว่าสามารถอยู่ได้เป็นวันๆ ไม่มีเบื่อ

สำหรับอุปกรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเปรียบเสมือนเครื่องมือหากินของเหล่าช่างภาพนั้น สำคัญจริงๆคือกล้องถ่ายรูป นอกจากกล้องแล้ว หลักๆก็น่าจะเป็นขาตั้งกล้อง ขาดไม่ได้ แล้วก็ฟิลเตอร์จำพวกฟิลเตอร์PL(โพลาไรซ์) ถ้าถ่ายพวกป่าพวกน้ำตก แต่ถ้าถ่ายพวกทะเลหมอกแล้วก็ฟ้าสวย ๆ เราก็อาจจะมีฟิลเตอร์สี สีฟ้าครึ่งซีก จะเป็นครึ่งซีกข้างบนจะเป็นสีฟ้า ข้างล่างจะเป็นสีใสธรรมดา ใช้บังท้องฟ้าให้มันมีสีขึ้นมาหน่อย แล้วก็ฟิลเตอร์เกรดูเอท ที่ข้างบนเป็นสีเทา เพราะว่าเราบังไปแล้วทำให้ฟ้ามันไม่สว่างมาก แทนที่จะเป็นสีขาวฟิลเตอร์พวกนี้ก็ช่วยได้ แล้วก็สายลั่นชัตเตอร์ ก็ถือว่าสำคัญ”

“แต่ก็มีหลาย ๆ คนที่ดูรูปจากใน อสท.แล้วบอกว่าภาพนี้หลอก ทำไมไปแล้วไม่สวยเหมือนในรูปเลย ความจริงแล้วกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปกว่าจะตื่นมันก็สายหรือบางคนตื่นเช้า จริง แต่ว่าที่ผมสังเกตดูถือว่ากล้องช่วยอย่างหนึ่ง บางครั้งภาพที่ตาคนเรามองไม่เห็น แต่กล้องสามารถช่วยบันทึกได้ เช่น สีต่าง ๆ ที่เราจะสังเกตว่าช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจะมีสีสวยมาก ท้องฟ้าหรือเมฆ ซึ่งบางครั้งตาเรามองไม่เห็น แต่พอถ่ายรูปแล้วกล้องสามารถจับสีจับภาพพวกนั้นไว้ได้ อันนี้เป็นข้อดีของกล้องของฟิล์มที่สามารถบันทึกไว้ได้ ซึ่งช่วงที่สวยจริง ๆ มันมีอยู่ซัก 10 นาที 20 นาทีแค่นั้นเอง”


เมื่อสอบถามถึงการ บันทึกภาพในระบบฟิล์มกับระบบดิจิตอล พบว่าช่างภาพส่วนใหญ่ของทีมงานอนุสาร อสท.ต่างยังคงวางใจเลือกใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะยังคงมั่นใจในประสิทธิภาพของฟิล์ม เพราะคิดว่าให้คุณภาพดีกว่าในเรื่องของสีสัน และความละเอียดของภาพ แต่ก็ไม่ได้ยึดติดหากในอนาคตกล้องดิจิตอลมีคุณภาพดีพอ



สรุปที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาแค่นี้ อ่านเต็ม ๆ ก็ตามนี้ครับ

http://www.manager.co.th/Travel/View...=9480000068182

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น