วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งานแต่งงาน อิสลาม คู่นี้ที่งดงาม

sorawichphotography.blogspot.com
จัดเล็ก ๆ ที่ร้านอาหาร  เช้าวันนั้นผมถ่ายให้เพื่อนที่ทำงานของเพื่อนที่ห้องใหญ่ข้างล่าง  โชคดีที่งานนี้มีที่เดียวกันแต่ชั้นบน
เป็นอีกงานที่ง่าย ๆ แต่ดูสวยงาม
ภาพนี้ใช้ 84 f 1.4 เปิดเต็ม ๆ ละลายฉากหลังที่เป็น wallpaper ของร้านอาหารนั้น  ใช้แสงจากหน้าต่างที่อยู่ด้านขวามือ 
จำไม่ได้ว่าเติมรีเฟลกซ์ด้านซ้ายนิดหนึ่งหรือเปล่า
มา แต่งภาพให้เนียนขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น  ผมไม่ชอบให้ภาพดูต่างจากความจริงหรือสีผิดเพี้ยนมากไป  เพราะภาพนี้วันนี้จะเป็นอมตะอยู่ไปตราบนานเท่านาน
facebook.com/Sorawichphotography

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทดลองทำ Lightroom Preset ในอีกโทนสี

ตามหลักการทำที่เขาทำทั่วไปอาจใช้ภาพเดียว ๆ กันเพื่อสะดวกในการเปรียบเทียบ  แต่รู้สึกเบื่อที่จะดูภาพเดิม ๆ คนเดิม ๆ ตลอด  เปลี่ยนนางแบบเปลี่ยนวิวไปเรื่อย ๆ ดีกว่า
เพราะยังไงก็ต้องทดสองทำภาพจากคนละแสงคนละบรรยากาศ

สีแบบนี้ก็สวยไปอีกแบบ  แสงสีไม่ได้สดใสแต่ดูแปลกตา น่าค้นหา
ด้วยความเป็นคนที่ชอบดูผิวสวย ๆ Preset อันนี้ยังพยายามรักษาไม่ให้สีผิวเวอร์ สว่าง หรือขาวเกิน 

ทดลองทำ Lightroom Preset เองบ้างดีกว่า เอาไว้ทุ่นเวลาแต่งภาพ

เมื่อคืนตอนดึกนึกอยากทำ Lightroom Preset ไว้ใช้เองบ้าง  เพราะบางทีแต่งภาพจำนวนมากการมาค่อย ๆ แต่งสีมันเสียเวลามาก 
นอก จากบางทีต้องใช้แล้ว  ยังเกิดจากไปเปิดอ่านกระทู้ห้องกล้องนี่  ปัญหาเรื่องแต่งภาพเหมือนจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นทุกวัน  ปกติแล้วผมจะถ่ายให้พอดี  จบที่หลังกล้องเลย  แต่ทำเอาไว้เผื่องานที่ต้องใช้

อันแรก ๆ แรกบันดาลใจมาจากหนัง  พอใจ  แต่ยังไม่ที่สุด  เดี๋ยวทดลองทำใหม่


วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุรีธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา กาญจนบุรี Buritara Kanchanaburi.







                           facebook.com/Sorawichphotography
เริ่มเปิดบันทึกการเดินทาง เริ่มต้นที่เมืองกาญ
ไม่อะไรหรอก เปิดเวปบุรีธาราดูปรากฏว่าภาพที่เราถ่ายให้ยังอยู่ และ ภาพที่ยืนบนทางรถไฟนี้เหมือนว่าต้นฉบับที่เราไม่มี น่าจะจากกล้องเพื่อนเราที่ไปด้วยกัน  คงไม่ได้เก็บภาพไว้แล้ว  ก็ยังดีที่เก็บได้จากในเวป
เดี๋ยวต้องค้นอะไรมาลงไว้อีก เพราะถ้าหาไม่เจอยังไงก็มีในเวปไว้ให้ดู

ภาพผมเองบนทางรถไฟสายมรณะ และ ผลงานภาพประกอบบางส่วนในเวปของ บุรีธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา กาญจนบุรี เปิดเวปดูภาพวันก่อนก็สนุกไปอีกแบบ  นึกถึงวันที่ไปเที่ยวในวันนั้น
Buritara Resort, Buritara Kanchanaburi, Thailand
 เรื่องและภาพเพิ่มเติมโปรดติดตามในตอนต่อไปครับ
つづく

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Ajinomoto Group's Event

Ajinomoto group's Event
หลัก ๆ ที่รู้จักกันก็มีสินค้าเหล่านี้



อายิโนะโมะโต๊ะ (ถ้วยแดง) ผงชูรสแท้  มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.0% ผลิตโดยกระบวนการหมักจากวัตถุดิบธรรมชาติ ได้แก่ แป้งมันสำปะหลังและอ้อย



"รสดี" คือ ผงปรุงรสที่ช่วยเติมความอร่อยให้กับทุกเมนูอาหาร ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ไม่ว่าเมนูไหน ก็อร่อยได้ง่ายๆ ด้วยรสชาติกลมกล่อมจากวัตถุดิบชั้นดี อันได้แก่ ผงเนื้อสกัดที่ผสมผสานกับเครื่องเทศอย่างลงตัว รสดี จึงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสุขของครอบครัวไทย ในการรับประทานอาหารมาตลอด 30 ปี
 
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา "ยำยำ" ผลิตจากวัตถุดิบที่ผ่านการคดคุณภาพมาเป็นอย่างดี ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สะอาด ทันสมัย เพื่อให้คุณได้อร่อยกับรสชาติที่ถูกปาก และเต็มอิ่มกับรสชาติ เหมือนได้รับประทานจากเมนูจริง

 กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้

"คาลพิส แลคโตะ"    (Calpis Lacto)     เป็นเครื่องดื่ม ภายใต้เเบรนด์
"คาลพิส" ต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ที่ให้ทั้งความสดชื่น ดับกระหาย ดื่มได้คล่องคอ และมีคุณค่าต่อร่างกาย จากส่วนประกอบที่มาจากธรรมชาติ ให้กลิ่น หอมเฉพาะ เเละรสชาติหวานอมเปรี้ยวอย่างลงตัว เติมเต็มความสดชื่น ดับกระหาย ระหว่างวันในทุกที่ทุกโอกาสกับ "คาลพิส แลคโตะ" สดชื่นเน้นๆเป็นต้องลอง ได้แล้ววันนี้ที่ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านค้าปลีกทั่วประเทศ

“ทาคูมิ” มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญทางด้านการปรุงอาหาร โดยคนผู้นี้มีความสามารถโดดเด่นมากกว่าพ่อครัวทั่วไป หรือ Master Chef”

ทาคูมิ-อายิ คือ ซอสญี่ปุ่นปรุงสำเร็จสำหรับตั้งโต๊ะ (ใช้เหยาะ) และปรุงอาหาร ดังนั้น คุณจึงสามารถปรุงอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนไทยได้ง่ายๆ เพียงใช้วัตถุดิบทั่วไปที่อยู่ในครัว

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โจน จันใด เล่าที่มาที่ไปของหนังสือ "อยู่กับดิน"

โจน จันใด เล่าที่มาที่ไปของหนังสือ "อยู่กับดิน" หนังสือเล่มแรกที่เขียนมากับมือ จากประสบการณ์ 16 ปีการทำบ้านดินในเมืองไทย ณ ร้านหนังสือ Book Re:public จ.เชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2555

เวบไซต์ช่วยแปล ภาษาไทย เป็น ภาษาลาว (Thai to Lao) (Lao-French and French-Lao)

http://www.laosoftware.com/index.php

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Executive Portrait ผู้นำทางอุตสาหกรรมเหล็ก มิลล์คอน



Sorawich Buppa's reference portfolio
Executive Portrait
ผู้นำทางอุตสาหกรรมเหล็ก มิลล์คอน

Me and Robert P. Miles

Robert P. Miles is an internationally acclaimed keynote presenter, author and distinguished authority on Warren Buffett and Berkshire Hathaway.

Pursued by journalists and media moguls on just about each and every move that Mr. Buffett makes, Robert is not only a long term shareholder of Berkshire Hathaway [nyse: BRKa/BRKb], he has had the great honor of getting to know Warren Buffett, the man and the remarkable wealth-building strategist.

He is the author of 3 books, has created assorted audio and video programs, and has appeared on many radio and television programs on five continents, including NPR, CNN, CNN International, CNBC, FOX Business, Channel News Asia, Sky Business News, Shanghai Today, CNBC Asia, CNBC Africa and Bloomberg TV. His Buffett CEO book was featured as a special on National Public Television's Nightly Business Report.
As the writer of the top-selling books The Warren Buffett CEO: Secrets From the Berkshire Hathaway Managers and 101 Reasons To Own the World's Greatest Investment: Warren Buffett's Berkshire Hathaway [Wiley], Robert has relentlessly followed his passion and found great success in doing so.

He is the author and presenter of Warren Buffett Wealth: Principles and Practical Methods Used by the World’s Greatest Investor [Wiley (book) and Nightingale (audio)]. He is host of the Buffett CEO Talk video series, conversations with the Berkshire Hathaway managers filmed before live studio audiences and broadcast on public television.

Many of his live keynotes, along with his hardcover and paperback books have been translated into assorted foreign languages, including Chinese, Korean, Thai, Japanese, and Vietnamese.

Known for his subtle wit and entertaining stories, this author without borders has shared his valuable insights, strategies, philosophies, and anecdotes with enthusiastic audiences throughout the world.

For more than a decade, Miles has given hundreds of live presentations throughout North America, Europe, Asia, Africa and Australia in 15 countries, over 45 cities and 12 universities.
Miles is the founder and host of the original Value Investor Conference held each year immediately preceding the Berkshire Hathaway annual meeting. Attendees from all 6 continents enjoy this unique retreat style forum featuring presentations from Warren Buffett CEOs, global investment managers and best-selling authors.

In the fall of 2011, at the University of Nebraska at Omaha, Robert Miles began teaching a graduate Executive MBA course based on his worldwide lectures and titled The Genius of Warren Buffett: The Science of Investing and the Art of Managing. This one of a kind program includes a distinguished speaker series, multiple valuation case studies of actual businesses and stocks purchased by Warren Buffett, and for the final exam, student presentations of businesses they think would best fit into the Berkshire family of businesses.

Miles is an avid tennis player, an adventurist and world traveler. He has visited over 50 countries, with a goal to explore 5 new countries each year. Having circumnavigated the world two times, he enjoys presenting interactive multimedia travelogues, highlighting the people, their culture and local customs. While each of his published books require 2,000 hours of research, writing and editing, his professional and travel presentations take a minimum of 40 hours of preparation for each hour of lecture.

Miles is a graduate of the University of Michigan Business School and resides in Tampa, Florida.
http://www.robertpmiles.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

June 25, 2011 Master's degree Chulalongkorn University




จากเกียรตินิยมอันดับ 1
เนติบัณฑิต
ในวันนี้  Master's degree
ผมนึกถึงความสวยที่เรียบง่ายและสง่างาม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธงชัย ใจดี นักกอล์ฟไทยที่สมารถค้าวแชมป์ในยุโรปเป็นครั้งแรก

เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมากกับคนไทยที่สมารถค้าวแชมป์ในยุโรปเป็นครั้งแรกจากการแข่งขัน ISPS Handa Wales Openที่ The Celtic Manor Resort  City of Newport, ประเทศเวลส์  31 May 2012- 3 Jun 2012




วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Documentary Photography ภาพถ่ายสารคดี ( เรื่องที่ 3 )

บทความ โดย ภูมิกมล ผดุงรัตน์
article by Poomkamol Phadungratna


(ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารณัฐนลิน / แก้ไขสำหรับหนังสือศิลปะภาพถ่ายและภาพยนตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัย ฯ ปี 2548 / แก้ไขล่าสุดสำหรับ photo-history253 ปี 2550)

ภาพถ่ายสารคดีบันทึกเหตุการณ์ตามความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา
งานภาพถ่ายเชิงสารคดีครอบคลุมหลากหลายประเภท
มิได้จำกัดแค่ภาพถ่ายเกี่ยวกับชีวิตและสังคมเท่านั้น ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม
ภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ภาพถ่ายธรรมชาติ ภาพถ่ายเชิงมานุษยวิทยา
ภาพถ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว ภาพถ่ายทางดาวเทียม ล้วนแต่เป็นงานภาพถ่ายเชิงสารคดีทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์หลักของภาพถ่ายประเภทนี้คือการบันทึกหลักฐานเอกสารเพื่อเก็บเป็นข้อมูล

อย่างไรก็ตาม ..
ในฐานะสื่อทางภาพที่มีอิทธิพลต่อความคิดและอารมณ์ ขอบเขตของงานภาพสารคดี
จึงมิได้หยุดอยู่แค่การบันทึกข้อมูล หลักฐานเอกสารเท่านั้น นับแต่ปลายศตวรรษที่สิบเก้า
รูปแบบของภาพถ่ายสารคดีนำไปใช้ในการโน้มน้าวกระแสสังคม ทั้งการเมือง โฆษณาชวนเชื่อ
และสังคมให้ความเชื่อถือข้อมูลทางภาพถ่ายเสมอ
แม้ในบางครั้ง ..สิ่งที่อยู่ในภาพถ่ายอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด
หรืออาจเป็นความจริงเพียงบางส่วน ..ซึ่งอาจนำสู่การเข้าใจผิดและบิดเบือน
แต่สิ่งเหล่านี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของช่างภาพ..

ช่างภาพสารคดี/ภาพข่าวมีหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ตามสภาพจริงที่เกิดขึ้นวินาทีนั้น
บันทึกอย่างตรงไปตรงมา แต่ช่างภาพก็สามารถบันทึกได้แค่สิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเท่านั้นเอง
ส่วนกระบวนการนำเสนอภาพต่อสังคมอยู่ในอำนาจของสำนักข่าว สำนักพิมพ์ หรือ รัฐบาล
ซึ่งแน่นอนว่าองค์กรเหล่านี้ย่อมมีแนวคิด วัตถุประสงค์ แม้กระทั่งผลประโยชน์ของตนที่ต้องคำนึงถึง

[เงื่อนไขทางวัฒนธรรม>

กล่าวกันว่า
วัฒนธรรมคือตัวกำหนดความคิดและการกระทำของคนในแต่ละสังคม
วัฒนธรรมถ่ายทอดผ่านศาสนา การศึกษา สื่อมวลชน จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ นับแต่การกำเนิดภาพถ่ายและ
เทคนิคการพิมพ์สมัยใหม่ ..สื่อทางภาพเข้ามามีบทบาทต่อการรับรู้ของสังคม
มีอิทธิพลต่อโลกทัศน์ของประชาชน

นั่นหมายถึง สื่อทางภาพ เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมคืออำนาจ ..เมื่อวัฒนธรรมคือตัวกำหนดความคิดและการกระทำของสังคม
ตั้งแต่จะกินอยู่อย่างไร สวมเสื้อผ้ากันแบบใด นิยมสินค้าประเภทไหน มีทัศนะต่อสังคม
การเมือง ศาสนาในแง่มุมใด (หรือจะไม่สนใจเรื่องเหล่านี้เลย)
ทั้งหมดนี้สั่งสมจากประสบการณ์ ผ่านการอบรมในครอบครัว ผ่านการศึกษา ผ่านศาสนา
ผ่านสื่อมวลชน บ่มเพาะจนเป็นแนวคิดและพฤติกรรมร่วมกันในสังคมเดียวกัน
สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถบังคับกันได้ ไม่สามารถสร้างขึ้นชั่วข้ามคืน จึงไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง
ไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งสามารถกำหนดกระแสความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คือไม่
สามารถฝืนบังคับวัฒนธรรมให้ไหลไปตามใจปรารถนาของตนเองได้

ความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพความเป็นอยู่ของสังคมนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม กลไกของวัฒนธรรม หรือกลไกที่มีอิทธิพลกับความคิดและอารมณ์ของผู้คน
จะมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเร้าความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าเป็นการเปลี่ยนตามกาลเวลา
หรือเป็นการเปลี่ยนก่อนเวลาอันควรก็ตาม โดยกระบวนการปลูกฝัง ตอกย้ำแนวคิดให้ซึมลึก
ภาพถ่าย..ในฐานะสื่อทางภาพอันเป็นกลไกสำคัญทางวัฒนธรรม
จึงมิได้เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับการบอกเล่าเรื่องราว
หรือความบันเทิงเท่านั้น ..แต่ภาพถ่ายคือเครื่องมือแห่งอำนาจ –
อำนาจในการกระตุ้นเร้าความคิดและอารมณ์ของสังคม

ประกอบกับความเชื่อถือที่ว่าภาพถ่ายไม่โกหก ยิ่งทำให้ภาพถ่ายมีอิทธิพลมากขึ้น
ภาพถ่ายหนึ่งภาพสามารถทำลายชีวิตคนให้ย่อยยับได้ทั้งชีวิต สามารถสร้างกำลังใจแก่สังคม
ที่กำลังอ่อนล้า หรือจะทำให้คนในสังคมหันมาฆ่ากันเองในเรื่องที่ไม่เป็นจริงก็ได้ทั้งนั้น..

ขึ้นอยู่ที่องค์กรนั้นใช้ภาพถ่ายเป็นหรือไม่ ..หรือใช้ได้ดีเพียงใด
ผู้กุมอำนาจรัฐในอดีตเข้าใจศักยภาพของสื่อชนิดนี้เป็นอย่างดี
และใช้ภาพถ่ายเพื่อประโยชน์ทางการเมืองมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ส่วนช่างภาพสารคดี--ภาพข่าว
ในอดีตเองก็เข้าใจในอำนาจของสื่อที่ตนใช้อย่างดี และพยายามระมัดระวังอยู่เสมอ
จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า จรรยาบรรณของช่างภาพ ..
การที่ภาพถ่ายเกี่ยวข้องกับเรื่องของความคิด อารมณ์ อำนาจ
สิ่งนี้เย้ายวนให้งานภาพเชิงสารคดีเกิดมีพัฒนาการสู่อีกรูปแบบหนึ่งของศิลปะ
หมายความว่าช่างภาพ / ศิลปิน นำรูปแบบของงานสารคดีไปใช้ในงานศิลปะ
(โดยดูเหมือนภาพสารคดี หรืออาจเป็นภาพสารคดี แต่มิได้เน้นที่เรื่องราวของเหตุการณ์ในภาพ
หันมาเน้นที่แนวคิดส่วนตัวของผู้สร้างงานเป็นสำคัญ )
สำหรับภาพสารคดีประเภทที่ผู้คนคุ้นเคยกันมากที่สุด มักเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตและสังคม
ภาพสารคดีชีวิตและสังคมเกี่ยวข้องกับ ความคิด อารมณ์ อำนาจ มากที่สุด -- มากกว่าสารคดีแนวอื่น
ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ลองนึกถึงภาพถ่ายทางการแพทย์ หรือภาพโคลส-อัพของลำไส้ใหญ่
คงไม่สามารถกลายเป็นประเด็นทางการเมืองได้

[ภาพถ่ายชีวิตและสังคม>

อัลมา ดเวนพอร์ต ( Alma Davenport ) ยกตัวอย่างในหนังสือ
The History of Photography
ว่าระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมสองฝั่งทวีปอเมริกาเหนือ ช่างภาพทั่วไปตื่นเต้นกับเครื่องจักรกล
ขบวนรถไฟและเทคโนโลยีทันสมัย แต่ช่างภาพสารคดีเกี่ยวกับชีวิตและสังคมกลับให้ความสนใจ
กับสภาพชีวิตของกรรมกรและความเป็นอยู่ระหว่างการก่อสร้างมากกว่า ( Chapter 4,
Social Document , page 41 )

สังคมยอมรับว่าภาพถ่ายนำเสนอความเป็นจริงเสมอ
แม้ความจริงบางอย่างก็ยากที่จะยอมรับ

ในปี ค.ศ.1850 เฮนรี่ เมฮิว ( Henry Mayhew ) ร่วมกับ
ริชาร์ด เบียร์ด ( Richard Beard ) ตีแผ่ชีวิตกรรมกรและผู้ยากไร้แห่งนครลอนดอน
ในหนังสือชื่อ London Labour and London Poor
แต่ทว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ขณะนั้นไม่สามารถตีพิมพ์ภาพถ่ายได้
จึงต้องใช้กระบวนการ wood engraver ลอกลายจากภาพถ่ายต้นฉบับลงบนแท่นพิมพ์
ซึ่งทำให้ภาพในหนังสือขาดความสมจริง ..เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือ Street of London ของ
ช่างภาพ จอห์น ทอมสัน ( John Thomson ) ร่วมกับ อดอลฟี่ สมิธ ( Adolphe Smith )
ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1870 ซึ่งใช้กระบวนการ photomechanical transfer process
สามารถพิมพ์ออกมาได้ใกล้เคียงภาพถ่าย

อัลมา ดเวนพอร์ต ให้ความเห็นว่าหนังสือเล่มแรก London Labour and London Poor
ไม่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมยุคนั้น เพียงเพราะภาพประกอบไม่สมจริง คนจึงไม่เชื่อว่าเรื่องราว
นั้นเกิดขึ้นจริง ขณะที่อีกเล่ม Street of London มีภาพที่เสมือนจริงกว่าคนจึงเชื่อมากกว่า
กล่าวได้ว่าข้อจำกัดทางเทคโนโลยีเป็นเหตุปัจจัย

อย่างไรก็ตาม..ลองมองอีกแง่มุมหนึ่ง
ความยากจนในทุกสังคมมิได้ซุกซ่อนอยู่ตามป่าเขา แต่ส่วนมากมักอยู่ในเมืองใหญ่
และสามารถเห็นได้ไม่ยากเลย โดยเฉพาะนครลอนดอนยุควิคตอเรี่ยน ซึ่งมีโสเภณีเกลื่อน
ทุกมุมเมือง เป็นได้หรือไม่ว่า สังคมเองนั่นแหละที่ปฏิเสธเรื่องเหล่านี้ สังคมเลือกที่จะ
ไม่เชื่อว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง ( แล้วโทษว่าภาพไม่เหมือนจริง ) ขณะที่หนังสือ
Street of London ของ จอห์น ทอมสันสามารถนำเสนอภาพเสมือนจริง
จนไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้อีกต่อไป

ในสมัยเดียวกันนั้น ผู้คนหลั่งไหลสู่อเมริกา ส่วนมากมาจากยุโรปตะวันออก
เมื่อไปถึงอเมริกาแล้วก็ไม่มีที่ไหนให้ไป ไม่มีงานให้ทำ อยู่แออัดกันในเมืองนิวยอร์คจนกลายเป็นสลัม
ยิ่งนานวัน สภาพยิ่งเลวร้าย ..จาคอบ รีส์ ( Jacob Riis ) นักข่าว / ช่างภาพ
มีประสบการณ์เรื่องนี้เป็นอย่างดี ในฐานะที่เขาเองเคยเป็นผู้อพยพมาก่อน
เขาเข้าใจว่าชีวิตคนเหล่านี้ลำบากอย่างไร บทความของเขาเขียนเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์
นิวยอร์ค แฮโรล ( New York Herald ) บรรยายชีวิตรันทดของผู้อพยพ
เมื่อสังคมรับทราบ แทนที่จะเห็นใจ..กลับตั้งข้อสงสัยว่าอะไรมันจะโหดร้ายปานนั้น

จนกระทั่งเขาเริ่มบันทึกด้วยภาพถ่าย และตีพิมพ์หนังสือ
How The Other Half Lives , Studies Among the
Tenements of New York ( ปี ค.ศ. 1890 )
จึงเกิดกระแสสังคมเคลื่อนไหวเรื่องคุณภาพชีวิตในเมืองใหญ่ขึ้นมา

ภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือเสมอ
บ่อยครั้งที่ภาพถ่ายก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม (ในแง่บวก)
ผลงานของ เดวิด ออคตาเวียส ฮิล ( David Octavius Hill ) /
โรเบิร์ต อดัมสัน ( Robert Adamson ) บันทึกชีวิตชาวประมงในเมืองนิวฮาเวน
สก็อตแลนด์ ( New Haven, Scotland ) ในปี ค.ศ. 1845
ผ่านบรรยากาศอันงดงาม เรือประมงเก่าๆ กระตุ้นเร้าความสนใจของชาวเมือง และเริ่มกลายเป็น
การเอาใจใส่ต่อคุณภาพชีวิตของชาวประมงท้องถิ่น

หรือผลงานของ ลิวอิส ไฮน์ ( Lewis w. Hines ) ซึ่งแอบบันทึกสภาพชีวิตในโรงงาน
การกดขี่แรงงานเด็ก ..ภาพถ่ายของเขาช่วยผลักดันให้เกิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
และการปกป้องสิทธิเด็กในอเมริกา

นับแต่ปลายศตวรรษที่สิบเก้าเรื่อยมา
ภาพถ่ายกลายเป็นสื่อสำคัญสำหรับโน้มน้าวกระแสสังคม
ช่างภาพผู้มีอุดมการณ์ต่อสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นมากมาย และสามารถสร้างความ
เปลี่ยนแปลงได้หลายต่อหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าความเสมือนจริงของภาพถ่ายจะ
น่าเชื่อถือเสียทั้งหมด หลายครั้งการตัดต่อภาพเพื่อบิดเบือนเรื่องราวหรือเพื่อสร้างอารมณ์เกินจริง
มีส่วนทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อภาพถ่ายลงไปไม่น้อย อย่างเช่นงานโฆษณาชวนเชื่อของ
ยูจีน แอปเพิร์ต ( Eugene Appert ) ปี ค.ศ. 1871
หรือภาพตัดต่อในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ( Bangkok Post ) และ
หนังสือพิมพ์ดาวสยาม ปี 2519 / ค.ศ.1976 เพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง กลายเป็นการนองเลือด
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือแม้แต่ในปี พ.ศ. 2550 ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ได้นำภาพถ่าย
เวที นปก ที่ท้องสนามหลวงมาบิดเบือน ตัดต่อภาพ โดยเติมถ้อยคำลงไปในลักษณะไม่สมควร
อันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรืออาจลุกลามเป็นการนองเลือดอีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้
ต่างกันที่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2550 นี้ ประชาชนและชาวอินเตอร์เนตจำนวนไม่น้อย
มีความรู้เท่าทัน ไม่หลงกลกันง่ายๆ อีกทั้งทุกคนมีกล้องถ่ายภาพดิจิตอล
มีโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายภาพได้ ..จึงมีการนำภาพถ่ายสถานที่จริงมาเปรียบเทียบ
กับภาพถ่ายหลอกลวงที่เผยแพร่โดยสื่อสารมวลชน
.
ในบางกรณี ช่างภาพมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่ตนบันทึกมากเกินไป
จนสังคมเกิดเคลือบแคลงใจในความน่าเชื่อถือของภาพถ่ายเหล่านั้น
อย่างเช่นงานสารคดีของ เอฟ เอส เอ ( FSA / Farm Security Administration )
ที่นำเสนอความทุกข์ยากของเกษตรกรอเมริกันในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ


การทำงานของช่างภาพสารคดีต้องบันทึกเหตุการณ์อย่างตรงไปตรงมา
นั่นคือ ไม่ใช้เทคนิคพิเศษทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นบิดเบือนจากความจริง ไม่มีการจัดฉาก
ไม่จ้างคนมาแสดง (เรื่องนี้มีช่างภาพแอบทำกันมาก แต่หากไม่ได้สร้างความเสียหาย-
บิดเบือนเกินไป คนส่วนมากมักให้อภัย) การทำงานของช่างภาพสารคดีและช่างภาพข่าว
ในแง่ของวัตถุประสงค์แล้วอาจไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างระหว่างช่างภาพสองสาขา
คือ ระยะเวลาการทำงาน และความลึกของงาน

ภาพข่าวที่ดีอาจต้องการภาพเพียงภาพเดียวเท่านั้น
แต่งานสารคดีต้องอาศัยเวลาเจาะลึกในหัวข้อนั้นๆ ต้องมีภาพจำนวนมาก
แม้มีภาพที่โดดเด่นหนึ่งภาพ ก็เป็นแค่ภาพที่ดีภาพหนึ่งเท่านั้น
มิได้หมายความว่าเป็นงานภาพถ่ายสารคดีที่มีคุณภาพ เช่นเหตุการณ์โป๊ะล่มที่ท่าน้ำพรานนก
เมื่อหลายปีก่อน เพียงภาพเจ้าหน้าที่กู้ภัยดึงศพเด็กนักเรียนขึ้นจากน้ำ (หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์)
ภาพเดียวเท่านั้น -- ถือเป็นภาพข่าวที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งบอกเล่าเรื่องราวความสะเทือนใจในเวลา
เดียวกัน แต่หากเป็นงานภาพสารคดี ช่างภาพต้องทำการกำหนดขอบเขตงาน (เช่น เจาะลึกในเรื่อง
ความปลอดภัยของท่าน้ำในกรุงเทพ เป็นต้น) ช่างภาพสารคดีต้องเฝ้าบันทึกสภาพการณ์ต่างๆ
และต้องจมอยู่กับหัวข้อนั้นเป็นเวลานาน


การที่ช่างภาพสารคดีต้องใช้เวลาอยู่กับเรื่องราว
หลายครั้งนำสู่ความผูกพันกับสิ่งที่ตนกำลังบันทึก จนสูญเสียความเป็นกลางไป
ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของช่างภาพสารคดี

แต่หากเกิดกรณีเช่นนี้กับช่างภาพข่าวอาจเป็นปัญหา
อีกทั้งปัญหาเรื่องจรรยาบรรณวิชาชาชีพ ..อีกมากมาย (กรณีในต่างประเทศ)
แต่สำหรับช่างภาพสารคดี..หากช่างภาพสารคดีจะแอบเคลื่อนย้ายวัตถุในภาพเพื่อองค์ประกอบ
ที่ดีกว่า ถ้าไม่เป็นการบิดเบือนจนเกินไปก็สามารถทำได้ ถึงจะไม่ค่อยเข้าท่าเท่าใดนัก และอาจ
ทำให้เกิดความคลางแคลงใจเรื่องความน่าเชื่อถือในผลงาน รวมทั้งความจริงที่นำเสนอบ้าง
มากน้อยขึ้นอยู่กับประเด็นที่เกี่ยวข้อง แต่สำหรับช่างภาพข่าวแล้วทำแบบนี้ไม่ได้เลย
(ยกเว้นข่าวสังคม ดารา บันเทิงซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นเรื่องโกหกมาแต่ต้น)

ภาพถ่ายสารคดีมิได้ยืนอยู่บนหลักสุนทรียศาสตร์ทั่วไป

เนื้อหาของงานข่าว / งานสารคดี อยู่ที่เหตุการณ์ในภาพ เป็นเรื่องของจังหวะกับเวลา
นำเสนอผ่านประสบการณ์อันช่ำชองของช่างภาพ (และบ่อยครั้งที่เป็นความบังเอิญ)
เมื่อทุกอย่างต้องเป็นเรื่องจริง -- ในช่วงเวลาจริง โอกาสที่จะมานั่งปั้นแต่งองค์ประกอบภาพนั้น
แทบเป็นไปไม่ได้เลย ..ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ช่างภาพมีเวลาคิด ตัดสินใจ และประมวลผล..
อย่างนานสุดแค่ 1/125 วินาทีเท่านั้น ความสมบูรณ์ทางเทคนิคหรือองค์ประกอบภาพ
จึงมิใช่ปัจจัยหลักในการพิจารณาภาพถ่ายสารคดี / ภาพข่าว

อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าสิ่งนี้ไม่สำคัญ
สำหรับช่างภาพที่เปี่ยมประสบการณ์ ย่อมสามารถควบคุมปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ได้ดี
ในเกือบทุกสถานการณ์ อีกประการหนึ่ง ความสมบูรณ์ทางเทคนิคมีผลต่อการสื่อสาร
กับคนดู หากภาพไม่สามารถสื่อความหมายได้ก็ไม่มีประโยชน์อันใด
ในยุคแรก องค์ประกอบภาพถ่ายเดินตามแนวทางจิตรกรรมเป็นหลัก แต่เมื่ออุปกรณ์การ
ถ่ายภาพมีความคล่องตัวมากขึ้น กล้องมีขนาดเล็กลง ฟิล์มมีความ ไวแสงมากขึ้น
หลักสุนทรียศาสตร์ภาพถ่ายก็เปลี่ยนตามไปด้วย การถ่ายจากมุมสูง มุมต่ำ การแอบถ่าย
ภาพเคลื่อนไหวกลายเป็นเงาลางๆในบางส่วน การมีวัตถุโผล่ขึ้นมาบังอยู่ตรงฉากหน้า
หรือการมีสิ่งแปลกปลอมในฉากหลัง เหล่านี้กลายเป็นเสน่ห์ของภาพสารคดี
รวมทั้งภาพถ่ายแนวสเตรท (straight photography) ในยุคหลัง
.
การบันทึกภาพอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา ไม่เสริมแต่ง เน้นชีวิตในแง่มุมต่างๆ
รูปแบบงานภาพสารคดีดังนี้ได้พัฒนาไปสู่งานภาพถ่ายอีกประเภทหนึ่ง
คือ street photography หรือ ภาพถ่ายชีวิตข้างถนน ซึ่งเหมือนการผสมผสาน
ระหว่างงานภาพข่าวและภาพสารคดี บ่งบอกจุดยืนของลัทธิศิลปะสมัยใหม่ ( modernism )
ในงานภาพถ่ายสมัยใหม่ ( modern photography ) อย่างชัดเจน
ในเชิงปรัชญา ภาพถ่ายแนวนี้ยังแยกย่อยออกไปอีก
อองรี คาทิเอ เบรซง (Henri Catier Bresson) ช่างภาพชาวฝรั่งเศส
เสนอแนวคิด decisive moment หรือแปลเป็นไทยพอได้ว่า วินาทีแห่งการตัดสินใจ
อันมีที่มาจากเรื่องราวของจังหวะ เวลา โอกาส บวกประสบการณ์
กระบวนความคิด และวิธีนำเสนอของช่างภาพแต่ละยุคสมัย
เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและเทคโนโลยี แต่วัตถุประสงค์หลักไม่เคยเปลี่ยนไป
นั่นคือการบันทึกเหตุการณ์ตามสภาพจริงที่เป็นอยู่ และความงามของภาพถ่ายสารคดี
อยู่ที่เรื่องราวชีวิต มิใช่หลักองค์ประกอบศิลป์ หรือสุนทรียศาสตร์ที่สมมุติกันขึ้นมา

การถ่ายภาพเชิงสารคดี (เรื่องแนะนำ ยาว ๆ แต่น่าอ่านน่ารู้ครับ)

งานเขียน สารคดีคือการนำเอาข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลความรู้ในเชิงวิชาการ มาเรียบเรียงเขียนให้อ่านง่ายขึ้น โดยใช้เทคนิคของงานวรรณกรรมเข้ามาช่วย ให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการตัดสิน เพื่อให้เข้าถึงความดี ความจริง และความงามด้วยตนเอง บางครั้งการใช้ตัวอักษรเป็นสื่อเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกเล่า “สาร” หรือเรื่องราวได้ทั้งหมด ภาพถ่ายจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของงานเขียนสารคดี และอาจสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวหนังสือเลย ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนึ่งภาพ แทนคำล้านคำ”

ภาพถ่ายเชิงสารคดีจำเป็นจะต้องดำเนินไปพร้อมเนื้อ เรื่อง เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และในบางกรณีภาพถ่ายสารคดีก็อาจจำเป็นต้องอาศัยเนื้อเรื่องมาสนับสนุนให้ภาพ สมบูรณ์ ช่างภาพสารคดีจึงมักจะต้องลงพื้นที่พร้อมกับนักเขียน หรือบางครั้งก็อาจต้องลงพื้นที่ด้วยตนเอง

การถ่ายภาพในเชิงสารคดีก็ เช่นเดียวกับงานเขียนสารคดี คือ การบันทึกปรากฏการณ์ ข้อเท็จจริงเพื่อบอกเล่าความจริง ตามความเป็นจริง โดยไม่บิดเบือน และไม่ถ่ายภาพนำความคิดหรือความรู้สึกของผู้คน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเมือง ศาสนา และความเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการเล่าเรื่องก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ต้องการจะเล่าด้วย หากเป็นประเด็นละเอียดอ่อน หรือเป็นปรากฏการณ์ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคม ช่างภาพจำเป็นจะต้องถ่ายทอดข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ถ่ายภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยไม่ใช้เทคนิคหรือจัดภาพที่ผิดธรรมชาติ แต่หากเป็นประเด็นที่ชัดเจนแล้ว อย่างเช่น ยาเสพติด เด็กเร่ร่อน อุบัติภัย ฯลฯ ช่างภาพอาจต้องถ่ายทอดให้เห็นอารมณ์ ความรู้สึกในภาพ เพื่อให้คนดูรู้สึกร่วมกับภาพและเรื่องนั้นได้

เทคนิคของการถ่ายภาพ เชิงสารคดีไม่ได้แตกต่างกับการถ่าย ภาพทั่วไป แต่การถ่ายภาพสารคดีจำเป็นจะต้องอาศัยการ “ทำการบ้าน” คือการหาข้อมูลและพูดคุยกับนักเขียนและบรรณาธิการให้ชัดเจน ถึงขอบเขตแค่ไหน เมื่อถึงเวลาลงพื้นที่จะได้ทำงานได้ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะงานสารคดีบางเรื่องจำเป็นจะต้องลงพื้นที่ถ่ายภาพหลายครั้ง ตามแต่โอกาสและฤดูการ บางเรื่องอาจต้องลงเป็นทีม หรือใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น สารคดีสัตว์ป่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นต้น
โดย: sorawich (เอ้ ) [6 ส.ค. 53 19:28] ( IP A:124.121.96.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ความแตกต่างระหว่างข่าวกับสารคดี*

คำ ว่า “สารคดี” นั้นให้คำจำกัดความได้ยาก เพราะมีลักษณะแตกต่างหลากหลาย และครอบคลุมกว้างมากตั้งแต่เรื่องของบุคคลสำคัญจนถึงเรื่องเหลือเชื่อของ เหตุการณ์ผิดปรกติต่าง ๆ รวมทั้งคำอธิบายซึ่งบางครั้งต้องการสั้น ๆ แต่บางครั้งก็อาจต้องใช้ข้อเขียนที่มีความยาวมาก ๆ ก็ได้ แต่ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องที่นำเสนอในรูปแบบของสารคดีจะไม่คำนึงถึงความสด ใหม่ คือ ไม่นำคุณค่าเรื่องเวลามาเป็นตัวกำหนด บางเรื่องใช้ได้เป็นเวลานานและก็ยังรู้สึกใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอ

สิ่ง ที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างข่าวและสารคดีไม่ชัดเจน คือ ข่าวบางข่าวถูกนำเสนอด้วยวิธีการของสารคดี เช่น ถ้านำเสนอภาพของผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลหรือผู้เล่นสำคัญที่ทำให้ทีมชนะและผล การแข่งขันก็อาจเป็นข่าว แต่ถ้านำเสนอในแง่ความกดดันของนักกีฬาหรือผู้เล่นคนสำคัญที่ทำให้ทีมชนะหรือ ผู้ชนะก็จะเป็นสารคดี อย่างไรก็ตามลักษณะสำคัญของสารคดีอาจดูได้จาก

1. ไม่มีกาลเวลา (Timelessness) สารคดีส่วนใหญ่ไม่ได้มีคุณค่าเพราะความทันต่อเวลาหรือความสดใหม่ แต่มักทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเรื่องนั้นสดใหม่และทันสมัยอยู่เสมอ ต่างจากภาพข่าวที่ต้องเป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ แต่จะเก่าและล้าสมัยอย่างรวดเร็ว

2. เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต (Slice of Life) ถ้าเป็นภาพข่าวคุณค่าของภาพจะมีมากขึ้นถ้าซับเจคมีชื่อเสียง และกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญหรือรุนแรงซึ่งก่อให้เกิด ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น สะเทือนใจ หรือเศร้าสลด แต่สารคดีจะตรงกันข้าม เพราะสารคดีจะบันทึกสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ หรือสิ่งของธรรมดา ๆ ที่เห็นได้หรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือการออกกำลังกายในสวนสาธารณะ

3. สารคดีจากข่าว (Featuring the News) เมื่อเกิดความเสียหายร้ายแรงจากไฟไหม้ ภาพข่าวอาจถ่ายให้เห็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และอาสาสมัครกำลังช่วยชีวิตผู้ประสบภัย โดยมีอาคารที่ถูกไฟไหม้เป็นพื้นหลัง และบรรยายความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ พร้อมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่สารคดีจากข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว (news feature) นั้น อาจถ่ายภาพตำรวจดับเพลิงที่กำลังช่วยชีวิตสุนัขและตีพิมพ์คู่กันกับภาพผู้ บาดเจ็บ และความเสียหายของอาคารโดยทั่วไป

นักเขียนบางคนให้คำนิยามคำ ว่า “สารคดี” ว่าหมายถึงอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ข่าว แต่แม้ว่าสารคดีจะรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ใช่ข่าวหรือกีฬา แต่การแยกและระบุประเภทว่าหมายถึงอะไรบ้างนั้นทำได้ยาก เพราะมีหมวดหมู่กว้างขวางมาก ที่สำคัญกว่าการแยกและระบุประเภทคือต้องรู้ว่า จะนำเสนอด้วยวิธีใดจึงจะทำให้ผู้ดูสนใจ
โดย: sorawich (เอ้ ) [6 ส.ค. 53 19:28] ( IP A:124.121.96.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
คุณสมบัติของช่างภาพสารคดี

ช่าง ภาพสารคดี ที่ดีควรมีคุณลักษณะที่ ไวต่อความรู้สึก (sensitive) เช่น รู้สึกถึงความพอใจหรือไม่พอใจของซับเจค มีความเมตตา (compassionate) ทรหดอดทนต่อความยากลำบาก (patient) อดทนอดกลั้น (tolerant) ต่อความกดดันต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อยากรู้อยากเห็น แต่ไม่สอดรู้สอดเห็น (nosey) เข้ากับผู้คนทุกประเภทได้ง่าย เด็ดขาดในการตัดสินใจและหนักแน่น (assertive) แต่ไม่ก้าวร้าว

นอกจากคุณลักษณะประจำตัวดังกล่าวแล้ว ช่างภาพสารคดีที่ดีควรมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะต่าง ๆ ต่อไปนี้ด้วย คือ

1. ต้องรู้จักผู้อ่าน วิธีที่จะทำให้รู้จักหรือเข้าใจผู้อ่านในขั้นแรกคือดูว่าภาพถ่ายให้หนังสือ พิมพ์ประเภทไหน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย หรือสิ่งพิมพ์เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะประเภทของหนังสือพิมพ์จะช่วยให้ทราบประเภทของผู้อ่านที่มีความต้องการ และความสนใจแตกต่างกัน

2. ต้องมีความรู้เรื่องเนื้อหาข่าวสาร (message) งานของช่างภาพคือการบอกผู้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นก่อนที่จะบอกหรือสื่อสารเรื่องราวตาง ๆ ไปยังผู้ดูหรือผู้อ่าน ช่างภาพต้องเข้าใจและรู้เรื่องที่เกิดขึ้นดีกว่าและมากกว่าคนอื่น ๆ การเริ่มต้นด้วยการสำรวจวิจัย (research) และหาข้อมูลด้วยการอ่านและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้รู้หรือผู้เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ ให้มากที่สุดก่อนลงมือทำงานก็เป็นวิธีที่ดี

3. ต้องมีทักษะหรือความสามารถในการคาดหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

3.1 การคาดหมาย ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือแนวโน้มต่าง ๆ (trend) เช่น สังเกตเห็นความผิดปรกติของลมฟ้าอากาศที่ร้อนมากขึ้นทุกปี หรือผู้คนในชุมชนเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่างภาพอาจต้องคิดล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นและผลกระทบต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง

3.2 การคาดหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเป็นการเฉพาะ (specific event) ในระยะเวลาไม่นานนัก เช่นใน ก่อนเปิดภาคเรียนก็คาดหมายได้ว่าเมื่อถึงเวลาปิดภาค ผู้ปกครองและบุตรหลานจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง จึงควรเตรียมตัวและเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้า ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือแค่วันเดียว เพื่อให้พร้อมที่จะทำงานได้ทันทีเมื่อมีกิจกรรมหรือเกิดเหตุการณ์ขึ้น

3.3 การคาดหมายขณะอยู่ในเหตุการณ์นั้น (moment within event) หมายถึงสัญยชาติญาณในการคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวินาทีนั้น

4. ต้องแสดงให้เห็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับผู้คน เมื่ออยู่ในเหตุการณ์อย่าลืมถ่ายภาพที่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องราวที่ต้อง การจะบอกหรือสื่อสารไปยังผู้ดูหรือผู้อ่าน และที่สำคัญควรถ่ายภาพให้เห็นว่ากิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสร้าง ผลกระทบโดยตรงต่อพวกเขาอย่างไร
โดย: sorawich (เอ้ ) [6 ส.ค. 53 19:29] ( IP A:124.121.96.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
การปฏิบัติตน

อาชีพ ช่างภาพวารสารศาสตร์ (Photojournalist) เป็นอาชีพที่ต้องพบปะพูดคุยติดต่อสื่อสารกับผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น คนขี้อาย เห็นแก่ตัว จู้จี้ ชอบทำตัวเป็นนาย (bossy) หรือกับคนที่ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและได้รับความร่วมมือด้วยดี การเข้าใจลักษณะนิสัยของผู้คนที่แตกต่างเหล่านี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อ ให้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและได้รับความร่วมมือด้วยดี เช่น ควรทราบว่าคนขี้อายมักไม่ค่อยชอบพูดคุยหรือเปิดใจ จึงควรใช้วิธีพูดคุยให้เกิดความคุ้นเคยและมั่นใจก่อนเริ่มถ่ายภาพ บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานและคุยจนแน่ใจว่าเขาเข้าใจ ไว้ใจ และยอมรับ จึงนำกล้องออกจากกระเป๋าได้ แต่ถ้าพบกับคนจู้จี้หรือชอบทำตัวเป็นนาย ก็ควรปล่อยให้เขาคิดว่าเขาเป็นนาย ด้วยการยอมให้เขาสั่งหรือกำหนดว่าควรถ่ายภาพอย่างไรแลถ่ายตามที่เขาบอกสัก 2-3 ภาพ (ซึ่งบางครั้งก็อาจได้ความคิดใหม่ ๆ เหมือนกัน) แล้วจึงขอถ่ายภาพตามที่ตนเองต้องการภายหลัง

เนื่องจากงานของช่างภาพ ไม่ใช่การเปลี่ยนความเห็นหรือทัศนคติของใคร ๆ เมื่อพบกับผู้คนที่มีนิสัยแตกต่างกันจึงต้องหลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือถก เถียง พยายามให้ซับเจคพูดถึงตัวเองทั้งสิ่งที่เขาคิดและสิ่งที่เขาทำ โดยช่างภาพต้องไม่พูดถึงตัวเองไม่ว่าจะเป็นปัญหาหรือแนวคิดใด ๆ ก็ตาม ที่ต้องระวังคือ ต้องไม่พูดคุยหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง ศาสนา หรือปรัชญาที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคม

เมื่อต้องเจอ กับซับเจคที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เช่น บอกว่าไม่มีเวลา ก็ควรขอเวลาเท่าที่เขาให้ได้ เช่น 5 นาที และต้องพยายามถ่ายให้เสร็จ เมื่อครบเวลาก็บอกว่า หมดเวลาแล้ว บางครั้งการกระทำและคำพูดแบบนี้ก็ทำให้ซับเจคพอใจ และมีอยู่บ่อย ๆ ที่ซับเจคให้เวลามากกว่าที่กำหนดไว้ แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือจริง ๆ เพราะซับเจคตกเป็นข่าวในทางลบ อาจต้องอาศัยโอกาสหรือจังหวะที่ซับเจคลงจากรถหรือออกจากตัวอาคารแทน
โดย: sorawich (เอ้ ) [6 ส.ค. 53 19:30] ( IP A:124.121.96.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้าถ่ายภาพเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียน ซึ่งมีความอยากรู้อยากเห็นและมีความสนใจช่างภาพมาก ควรบอกว่าตัวเองเป็นใคร กำลังทำอะไร และเพื่อให้ความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการถ่ายภาพลดลง บางทีอาจต้องถ่ายภาพหมู่สัก 2-3 ภาพ และปล่อยให้พวกเด็ก ๆ จ้องมอง ทำท่าต่าง ๆ ใส่กล้องสักพัก เมื่อถึงเวลาถ่ายจริงอาจต้องบอกพวกเขาว่าถ้าอยากมีตัวเองอยู่ในภาพ ต้องทำเป็นไม่เห็นกล้อง ถ้ายังมีปัญหาและมีเวลาพอควรปล่อยให้เวลาผ่านไปสัก 10-20 นาที เด็ก ๆ ก็จะเคยชินกับกล้องและเลิกสนใจหรืออาจหันไปสนใจอย่างอื่นแทน

อย่างไร ก็ตามโดยทั่วไปแล้ว เด็กเป็นซับเจคที่ถ่ายได้ง่ายเพราะดูน่ารัก เป็นธรรมชาติและจะทำท่าทางแปลก ๆ หรือทำสิ่งที่ดูไร้เดียงสาโดยไม่ต้องบอกให้ทำ เด็กบางคนชอบทำเลียนแบบผู้ใหญ่ เช่น ทาลิปสติก ใส่รองเท้าส้นสูงของแม่ หรือสวมหมวกของพ่อ ฯลฯ

อูลริค เวลสช์ (Ulrike Welsch) ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพเด็กที่ถ่ายภาพให้ บอสตัน โกลบจะขออนุญาติผู้ปกครองก่อน ถ้าผู้ปกครองไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้นก็จะขอให้เด็กพาไปหา เวลสช์บอกว่า เพราะไม่ต้องการให้ผู้ปกครองสงสัยและขัดจังหวะการถ่ายภาพ แม้การกระทำเช่นนี้จะขัดจังหวะการทำกิจกรรมของเด็กอยู่บ้าง แต่เด็กก็จะได้กลับไปเล่นหรือทำกิจกรรมใหม่อย่างรวดเร็วตามธรรมชาติ

นอก จากเด็กแล้ว สัตว์ยังเป็นซับเจคที่ถูกนำเสนอเป็นสารคดีมากที่สุด คนรักสัตว์มักปฏิบัติต่อสัตว์เหมือนเป็นมนุษย์ตัวเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงมีความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ จึงฝึกให้ทำท่าทางเหมือนคน เช่น นั่ง นอนบนเตียง สูบบุหรี่ กินไอศกรีม ยิ้ม ฯลฯ คุณสมบัติเฉพาะตัวหรือท่าทางแปลก ๆ เหล่านี้ เป็นวัตถุดิบสำหรับงานสารคดีได้ดี
โดย: sorawich (เอ้ ) [6 ส.ค. 53 19:31] ( IP A:124.121.96.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
การถ่ายภาพเชิงสารคดีไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเด็ก สัตว์ และสวนสาธารณะ ยังมีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายที่ถูกนำมาถ่ายภาพสารคดี แม้แต่สิ่งที่ไม่น่าจะไปด้วยกันได้ (incongruous) ก็สามารถนำมาถ่ายเป็นภาพสารคดีที่น่าสนใจได้ เช่น ภาพพระถือปืน ทหารชุดพรางสะพายกล้อง หรือคนนอนอาบแดดข้าง ๆ หลุมฝังศพ เป็นต้น

ลักษณะของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำมาถ่ายทำเป็นสารคดีได้ดีคือ

- เหตุการณ์ครั้งแรก การกระทำหรือเหตุการณ์ครั้งแรกหมายถึงความไม่ไม่ประสบการณ์ ความตื่นเต้น ความวิตกกังวลหรือประหม่า (nervous) ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย หรืออาจมีความหมายพิเศษ เช่น การไปโรงเรียนวันแรกของเด็กอนุบาล การเข้าค่ายลูกเสือครั้งแรก หัดเล่นสเก็ตน้ำแข็งครั้งแรก หรือหัดเต้นรำวันแรก เหตุการณ์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเป็นสารคดีที่ดีเพราะมักได้รับความสนใจจาก ผู้อ่าน

- งานที่ไม่ธรรมดา (unusual) งานที่อยู่แต่ในห้องทำงานหรือหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลามักไม่ค่อยน่าสนใจ ต่างจากงานบางประเภท เช่น คนเช็ดกระจกอาคารสูง คนขี่ม้าพยศ นักกายกรรม นักบินทดสอบ คนงานในโรงงานผลิตรถยนต์ ฯลฯ ภาพการทำงานเหล่านี้ทำให้สารคดีเป็นที่น่าสนใจและสร้างความประทับใจได้ง่าย เพราะเป็นงานที่คนน้อยคนจะได้เห็นหรือสัมผัสและคนจำนวนมากอยากรู้

- วันพิเศษ (special day) วันพิเศษสร้างเป็นเรื่องราวสารคดีได้ง่าย เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเด็ก วันปีใหม่ วันสตรีสากล วันเอดส์โลก แต่ต้องระวังเรื่องที่อาจสร้างความไม่พอใจแก่ผู้คนได้ เช่น เรื่องของคนป่วย โรคเอดส์ที่อาจสร้างความไม่พอใจให้กับญาติของผู้ป่วยหรือทำให้ผู้คนเกิดความ ตระหนกเกินความจำเป็น

เพื่อให้แน่ใจว่าการถ่ายภาพได้ครอบคลุม เหตุการณ์และใช้งานได้ดี ช่างภาพควรถ่ายภาพแบบพื้นฐานทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะไกล (long shot) ระยะปานกลาง (medium shot) และระยะใกล้ (close-up shot) ไว้ด้วยทุกครั้ง

- ถ่ายระยะไกล เพื่อให้เห็นสถานที่หรือทำเลทั้งหมดอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ผู้ดูเห็นความสัมพันธ์ ขนาดและมาตราส่วนของสิ่งที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ

- ถ่ายระยะปานกลาง ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างซับเจคกับส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมบางส่วน

- ถ่ายระยะใกล้ เพื่อเน้ให้เห็นรายละเอียดที่ต้องการเน้น ซึ่งบางทีก็อาจเห็นแค่ใบหน้า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของวัตถุหรือซับเจคเท่านั้น

การ จะถ่ายระยะใกล้หรือไกลแค่ไหนและถ่ายอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเรื่องที่ กำหนดหรือขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่ควรถ่ายแค่ระยะพื้นฐาน 3 ระยะนี้เท่านั้น แต่ควรถ่ายจากมุมต่าง ๆ ให้หลากหลายด้วย เช่น มุมสูง มุมต่ำ แนวตั้ง แนวนอน ฯลฯ

นอกจากต้องถ่ายให้ครอบคลุมเหตุการณ์แล้ว ยังต้องถ่ายภาพที่สามารถบอกเล่า เรื่องราวที่เป็นหัวใจของเหตุการณ์นั้นให้ได้ด้วย (ถ้าเป็นภาพข่าวอาจเป็นภาพเดียว แต่ถ้าเป็นภาพสารคดีอาจใช้มากกว่า 1 ภาพ) ช่างภาพจึงต้องหาจังหวะหรือรอวินาทีที่องค์ประกอบต่าง ๆ มารวมอยู่ด้วยกันให้มากที่สุด จังหวะหรือวินาทีสำคัญที่ว่านี้เรียกว่า “พีค โมเมนต์” (peak moment) ซึ่งการถ่ายภาพในช่วงวินาทีที่สำคัญนี้เป็นเรื่องท้าทายเพราะช่างภาพต้องใช้ ความชำนาญในการคาดหมาย เนื่องจากต้องใช้เวลาหลังจากตามองเห็นประมาณครึ่งวินาทีก่อนสมองสั่งให้นิ้ว กดปุ่มชัตเตอร์ และอีกประมาณ 1/10 วินาทีชัตเตอร์จึงจะเปิด ดังนั้นหาก รอจนเห็นภาพที่ดีที่สุด (perfect moment) แล้วจึงกดชัตเตอร์ก็อาจสายไป

*คัด ลอกมาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุลีพร เกษโกวิท, การถ่ายภาพวารสารศาสตร์, บทที่ 8 สารคดี, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546

และ http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=2398

การถ่ายภาพสารคดี (Documentary)

การถ่ายภาพ สารคดี (Documentary) เหมือนงานเอกสาร แต่ต้องแปลจากตัวหนังสือมาเป็นภาพถ่าย

ภาพ ถ่ายสารคดีไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ภาพถ่ายวิถีชีวิตหรือ สังคมเท่านั้น แต่มันรวมไปถึง ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม ภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ภาพถ่ายธรรมชาติ ภาพถ่ายเชิงมานุษยวิทยา ภาพถ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว ภาพถ่ายทางดาวเทียม ล้วนแต่เป็นงานภาพถ่ายเชิงสารคดีทั้งสิ้น เพราะวัตถุประสงค์หลักของภาพถ่ายประเภทนี้คือการ บันทึกหลักฐานเอกสารเพื่อเก็บเป็นข้อมูล

ในฐานะสื่อทางภาพที่มี อิทธิพลต่อความคิดและอารมณ์ ขอบเขตของงานภาพสารคดีจึงมิได้หยุดอยู่แค่การบันทึกข้อมูลหลักฐานเอกสารเท่า นั้น รูปแบบของภาพถ่ายสารคดียังนำไปใช้ในการโน้มน้าวกระแสสังคมได้อีกด้วย

ความแตกต่างของภาพ สารคดี (Documentary) กับภาพข่าว, conceptual และ street shoot

- การถ่ายภาพสารคดี (Documentary) เหมือนงานเอกสาร แต่ต้องแปลจากตัวหนังสือเป็นภาพ เป็นการถ่ายภาพตามความเป็นจริงภาพไม่มีการตัดต่อ หรือจัดฉาก หรือสร้างเรื่องราวขึ้นมาเอง ใช้เวลาเรียนรู้กับเรื่องนั้น ๆ นาน

- การถ่ายภาพข่าวคือการบันทึกเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น อย่างทันทีทันใดตามความเป็นจริง แต่ไม่ได้สาวลึกเข้าไปในรายละเอียด

- การถ่ายภาพแบบ Conceptual คือการถ่ายภาพแบบวาง concept ตามมโนภาพของช่างภาพว่าต้องการให้ภาพออกมาแบบไหน

การถ่ายภาพแบบ Street shoot คือการถ่ายภาพแบบเดินตามถนน เห็นอะไรน่าสนใจก็ถ่ายแต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดที่มาที่ไปของภาพ

ภาพสารคดีที่ดีต้องมี:

1. ความสวยงามตามองค์ประกอบภาพ

2. เนื้อหาของภาพ ตามความเป็นจริงของสังคม ในแง่ดี หรือแง่ร้ายก็ได้ จะเป็นภาพเดียวหรือ เป็นชุดก็ได้

3. การทำงาน ภาพถ่ายแบบ Documentary เหมือนการทำ วิทยานิพนธ์ ตอนที่จะจบมหาวิทยาลัยนั่นเอง

4. ต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเชิงลึกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทั้งในด้านบวกและด้านลบ หาต้นกำเนิด แหล่งที่มา อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

5. วาง conceptของภาพที่อิงกับความเป็นจริง สำรวจและทำความเข้าใจในสิ่งที่จะถ่าย ทำความคุ้นเคย ทำตัวกลมกลืน สร้างมิตรภาพระหว่างช่างภาพและสิ่งที่เราจะถ่าย ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อสร้าง Connection เพื่อในโอกาสหน้า มีข่าวคราวอะไรจะติดต่อเราให้มาถ่ายได้

6. ไม่ควรจัดฉากถ่าย หรือ set ถ่ายภาพ (คงเหมือนสอบได้เกรด 4 แต่ลอกเขามา คงไม่ภูมิใจเท่าไร)

7. การแต่งภาพ ไม่ควรทำ ทำได้แค่ปรับความสว่าง มืด ของภาพเท่านั้น สายไฟที่รกเราก็ต้องเก็บไว้เพราะนั่นคือความจริง แต่บางอย่างที่เคลื่อนย้ายได้ และรกหูรกตา ก็เก็บกวาดออกก่อนถ่ายจะดีกว่า

8. การถ่ายภาพแบบ สารคดี (Documentary) จำเป็นต้องเป็นภาพ ขาว ดำหรือไม่ : ไม่จำเป็นแต่ที่ช่างภาพส่วนมากใช้ ขาว ดำ เพราะภาพขาวดำส่วนมากสื่ออารมณ์ได้ดี และช่างภาพต้องการลบสีสันในภาพออกไป ไม่ให้รบกวานสายตา, ภาพหดหู่ ต้องส่วนมากใช้ขาวดำ, แต่บางภาพไม่ควรใช้ภาพขาวดำเพราะผิดธรรมชาติ เช่นภาพ "ใบไม้ใบสุดท้าย" แต่เป็นภาพขาวดำ เราไม่สามราถมองเห็นได้ว่าใบสุดท้ายมันสีอะไร?

9. เรื่องที่ต้องการนำเสนอสำคัญที่สุด ความงามของภาพเป็นอันดับต่อมา ต้องสามารถสื่อให้เห็นสถานที่ได้ ใช้ภาพให้ หลากหลายมุมมอง

10. ต้องมีเวลาและทุ่มเทเวลากับโปรเจ็คนั้น ๆ อาจเป็นปี ถ่ายแล้วกลับมาดู ถ้าไม่ดีก็กลับไปถ่ายใหม่

11. เงินทุน เพราะตอนที่เรายังไม่มีชื่อเสียงเราต้องเริ่มแสวงหาข้อมูลและออกถ่ายด้วยตัว เราเอง (อันนี้มีทางแก้… ก็ชวน เพื่อน ๆ ไปสิจะได้แชร์ค่ารถ อิอิ..) หลังจากเสร็จโปรเจ็คแล้วก็ทำเรื่องขายก็จะได้เงินมา

12. ต้องมีจุดประสงค์ว่า ต้องการถ่ายไปเพื่ออะไร.. ส่งพิมพ์ตามหนังสือ หรือส่งขาย แต่สิ่งสำคัญทีควรทำคือ .. ขอให้ผลงานนั้นคืนกลับสู่สังคม คืนกลับสู่ต้นกำเนิดของภาพ อาจจะเป็นการทำ postcard ขาย กำไรคืนสู่ต้นกำเนิด เพื่อเป็นการช่วยสังคมให้ดีขึ้น อย่างน้อยก็เป็นกระบอกเสียงให้สังคมรับทราบและตื่นตัว

13. ต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่าเรื่องบางเรื่องควรแตะต้องถ้าต้องการกระจายข่าวให้ สังคมรับรู้ แต่เรื่องบางเรื่องถ้าทำแล้วมันทำให้ต้นกำเนิดภาพเสื่อมเสียหรือเสียหาย หรือจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงก็ไม่ควรทำ

14. ทำตัวเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

15. แก้สถานการณ์ล่วงหน้าได้

DAO (สรุปจากการอบรมในหัวข้อการถ่ายภาพสารคดี กับ คุณสุเทพ กฤษณาวารินทร์)

บทสัมภาษณ์ คุณ ดวงดาว สุวรรณรังษี มุมมองเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและถ่ายภาพที่น่าสนใจมาก

บทสัมภาษณ์ คุณ ดวงดาว สุวรรณรังษี มุมมองเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและถ่ายภาพที่น่าสนใจมาก
บทสัมภาษณ์ คุณ ดวงดาว สุวรรณรังษี ลงพิมพ์ ใน Bangkok Post 20 สค. 49, Out Look section
เขียนโดย คุณสนิทสุดา เอกชัย

So what is her purpose? Duangdao answers without having to think. “My goal is nothing big. I only want my work to spark the imagination of the younger generation to explore the world, as explorers before us have done.
“I also want to encourage them to try to find the deeper meanings of the journeys along the way, not just to be in different places.”
What meaning has she has found on the way to the Himalayas, the so-called paradise on earth?
She gives a gentle smile. “I’ve found that paradise is really a state of mind. That it’s nowhere else but in your own heart.”

จุดมุ่งหมายของฉัน ไม่ใช่อะไรที่ใหญ่โต
แค่ต้องการให้ผลงานของฉันกระตุ้น จินตนาการของนักเดินทางรุ่นต่อๆไป ให้ออกค้นหาโลก
อย่างที่นักเดินทางรุ่นก่อนๆ ได้ทำไว้

ฉันยังต้องการช่วยเหลือให้พวกเขาได้ค้นพบ ความหมายที่ลึกซึ้ง ของการเดินทาง ที่ไม่ใช่แค่ การเปลี่ยนสถานที่เท่านั้น

แล้วอะไรล่ะ คือความหมาย ที่ซ่อนอยู่ ในการเดินทางของเธอไปหิมาลัย หรือที่เรียกกันว่าสวรรค์บนดิน

เธอ ยิ้ม อย่างอ่อนโยน และตอบว่า

“ฉันได้พบว่า สวรรค์ ที่แท้จริง เป็นเรื่องของการรู้คิด และไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน หากแต่มันอยู่ในใจของเรานั้นเอง”

Although Duangdao is credited for making Thailand famous for its rich natural world, she says she didn’t necessarily feel good about it.
“I’m not an activist. I don’t fight for the environment by taking to the streets or things like that. I do it with my camera. My aim is to spark a love for nature among the people. But having seen so many places destroyed by overtourism, I don’t know if I did the right thing.”

แม้ ว่าคุณดวงดาวจะได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้หนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่ มีธรรมชาติอันสวยงาม แต่เธอกล่าวว่า บางครั้งก็รู้สึกไม่ดี
“ฉันไม่ใช่นักต่อสู้เรียกร้อง ฉันไม่เคยต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยการออกไปประท้วงกลางถนน ฉันทำด้วยกล้อง

จุด หมายของฉันคือการปลุกจิตสำนึกความรักธรรมชาติให้เกิดในฝูงชน แต่เมื่อได้เห็นว่า ธรรมชาติ ถูกทำลายลงด้วย กลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ฉันชักไม่แน่ใจ ไม่รู้แล้วว่า ฉันทำในสิ่งที่ถูก”

Duangdao was leading a car caravan with the aim to go to Lhasa through China via land routes, something no Thai group has ever done. Apart from the excitement of being an explorer, she also wanted to witness the colourful celebrations of Visakha Puja at the top of the world.

A series of accidents along the way, however, made that goal impossible. The only way the group could make it to Lhasa on Visaka Puja Day was to take an airplane.

Did she give up on her dream to explore the land route from China to Tibet?

Although the group eventually decided to continue the land journey, Duangdao was pained at not being able to achieve the goal she had set for the caravan. That was until she saw the pilgrims who prostrated themselves all the way to Lhasa.

“One told me that it would take him over 140 days from his village to get to Lhasa on a walking pilgrimage. And he had to prostrate like that all the way. Imagine what he must have endured _ imagine the power of his faith. “For those pilgrims, it didn’t matter if they arrived at Lhasa on Visakha Puja or not. What mattered was that they were expressing their deep faith at that very moment.

“Those pilgrims taught me that it’s the determination, the faith in what one’s doing, that matters _ that the journey is more important than the destination.”

การเดินทาง ไม่ได้สำคัญที่ การถึงจุดหมาย เท่านั้น

บางที ไม่สำคัญเลย ว่า จะถึงหรือไม่ถึง

หากแต่ ระหว่างการเดินทางนั้น การค้นพบ สิ่งต่างๆ รวม จิตใจเราเอง

รวมถึง ความเชื่อมั่น ศรัทธา และ การกล้าออกเดิน นั้น ต่างหาก

ที่สำคัญกว่า ความสำเร็จ ในการถึงจุดหมาย

เป็น ชาวเชียงใหม่

จบนิเทศจุฬา

เป็นนักเขียน และเคยทำงาน อนุสาร อสท.

ต่อมาก็ถ่ายภาพเอง , ถนัดแนวภาพธรรมชาติ

บุกป่า ถ่ายภาพ แทบจะทั่วทุกป่า ในไทย

เคยได้รางวัลภาพ ยอดเยี่ยม จากมูลนิธิ นพ. บุญส่ง เลขะกุล ( ขออภัย ถ้าจำชื่อ มูลนิธิ ผิด หรือจำรางวัลผิด)

( ภาพวัว กระทิง กระมัง ครับ … ผมไม่แน่ใจ นะ )

เป็นผู้หนึ่ง ที่ทำให้ อนุสาร อสท. โด่งดัง

ต่อมาออกมาทำ ของตัว เอง คือ Nature Explorer

คร่าวๆ นะครับ

อ้อ

จากที่ฟังๆมา คุณดวงดาว มีความคิดเกี่ยวกับการใช้กล้อง
การเก็บกล้อง ที่แปลกกว่า คนอื่นๆ

เช่น เคยมีชุด ไลก้า , ชุด Hasselblad ที่สุดยอด
ชุด Nikon เป็นต้น ในแต่ละช่วงเวลา

แต่พอเวลาผ่านไป จะไม่เก็บ

แต่จะขาย และเอาเงินไว้

โดยให้เหตุผลว่า เวลาผ่านไป อุปกรณ์ เก่าลง ความก้าวหน้าทางเทคโนฯ มากขึ้น
เอาเงินไปซื้อของใหม่ๆ มาใช้ จะดีกว่า

และของที่เก็บไว้ ถ้าเก็บไม่ดี เลนส์ก็อาจพังได้

คงไม่อาจ เรียกว่า ผิด/ถูก
แค่เป็น อีกทัศนคติ ของ นักถ่ายภาพมือาชีพอีกคนหนึ่ง นะครับ

……

อ้อ

ผมจำได้ประโยคหนึ่ง ที่ น่าสนใจ คุณดวงดาวเคยบอกว่า

ศิลปะภาพถ่าย คือ ศิลปะของการถ่ายทอด

เราต้องรู้ว่ากำลังถ่ายทอดอะไร , ภาพ ก็จะมีชีวิต มีความเป็น ศิลปะไปเอง

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทุ่งสมอ เขาค้อ สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ได้ห่างใกลแต่ใคร ๆ ไม่ค่อยรู้จัก

Outdoor magazine Inside you can see me. 
ภาพนี้ไม่ได้เป็นคนถ่ายภาพแต่เป็นคนในภาพ
 เขาค้อ แทบทุกคนรู้จัก แต่ทุ่งสมอ และถ้ำแห่งนี้ คงมีรู้จักกันไม่มาก แว่นตาอันที่ใส่อยู่ในภาพ ตกหายในถ้ำ ถ้าใครพบอยากบอกว่า มันของผมเอง ไม่ใช่ของโบราณหรอกนะ