วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ : 66 วันเดิน 1,000 กิโลเมตร


     ดร. ประมวล เพ็งจันทร์  มีใคร เคยรู้จักผู้ชายคนนี้มั้ยคะ เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน นุสิตา ได้ Serch หาบทความดีๆ อ่าน แล้วก็ได้เจอ เรื่องราวของชายคนนี้โดยบังเอิญ อ่านแล้วก็รู้สึกประทับใจสนุก น่าติดตาม อีกทั้งแนวทางดำเนินชีวิตน่าสนใจมากเลยค่ะ Smile
     บทความมีการใช้ถ้อยคำสุภาพ สละสลวย อ่านแล้วก็อยากอ่านจนจบ มีเนื้อหาที่อ่านแล้วน่าติดตาม ตัวหนังสืออาจยาวไปซักหน่อย ลองอ่านดูนะคะ บทความนี้สอนให้เรารู้ซึ้งถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดี
...................................................
     1 ปีก่อน ผู้ชาย ธรรมดา ๆ คนหนึ่งได้ตัดสินใจยุติบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัยในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 51 เพื่อออกเดินเท้าจากเชียงใหม่กลับสู่บ้านเกิดที่เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี ด้วยเงื่อนไข ไม่พกเงินติดตัว-ไม่ เดินไปหาคนรู้จักหากคนรู้จักอยู่ที่ไหนก็จะหลีก เลี่ยง-ไม่ร้องขออาหาร เว้นแต่จะมีผู้หยิบยื่นให้เองโดยไม่เดือดร้อน-ไม่เบียดเบียนใครหรือสิ่ง ใด-ไม่กำหนดเวลา-ไม่วางแผนการเดินทาง หรือกำหนดเส้นทางที่แน่ชัด

      66 วันผ่านไป อดีต อาจารย์ภาควิชาปรัชญาฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คนเดิมเดินกลับมาเหมือนปาฏิหาริย์ นำมาซึ่งการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านระยะทางกว่า 1,000 ก.ม.ในหนังสือ "เดินสู่อิสรภาพ"แทนจดหมายขอบคุณผู้ให้ชีวิตใหม่แก่เขาตลอดเส้นทางกว่า 166 คน และบอกเล่าความหมายและคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ตลอดการก้าวย่างทั้งภายนอกและ การเดินทางภายใน..
       
      ฉากชีวิตของ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ริ่ม ต้นบนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ผ่านชีวิตเด็กรับจ้างกรีดยางที่เรียนจบเพียงชั้นป.4 ไฟไหม้สวนยางทั้งแปลงของตนเมื่ออายุ 15 ปี การตัดสินใจบวชเณรเพื่อก้าวให้พ้นจากความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน เดือนตุลาคม 2514 จนเรียนจบเปรียญ 5 เข้าเรียนมหาจุฬาฯ ย้ายไปเรียนมหามกุฏฯ และตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตอีกครั้งเพราะสะเทือนใจกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอินเดีย จนจบปริญญาตรี-โท-เอก สาขาปรัชญา ซึมซับอารยธรรมอินเดียเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ ก่อนกลับมาช่วยสอนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และสอบบรรจุเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นานกว่า 16 ปี


     "ผมคิดว่าเวลาที่จะมีชีวิตอยู่มันเหลือไม่มากนักและผมได้รับอิทธิพลจากวัฒ ธรรมอินเดียที่เคยอยู่มา เมื่อถึงวัยหนึ่งที่สำนึกรู้ว่าตนมีเวลาเหลืออยู่ในโลกไม่มากแล้ว ก็ต้องเตรียมตัวที่จะละโลกนี้ไป หรือไม่ยึดติดในสภาวะที่มีอยู่ ผมเลยใช้การเดินเพื่อออกจากสภาวะที่มีอยู่"
          
       การฝึกเดินครั้งแรก  ค่อน ข้างทุลักทุเล เพราะเมื่อเดินลงจากดอยสุเทพแล้วกลับบ้านไม่ได้เนื่องจากรถเยอะมากจนไม่ สามารถข้ามถนนได้ต้องโบกรถโดยสารให้ไปส่งที่บ้านโดยภรรยาถึงกับต้องอุ้มเข้า บ้านและนวดให้ทั้งคืน รุ่งเช้าจึงเป็นไข้และเว้นไป 1 วันจึงตั้งต้นฝึกเดินต่อจนกระทั่งเดินได้พอสมควรและเชื่อว่าจะเดินได้ภรรยา จึงอนุญาตให้เดินออกจากบ้านในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548
       สัมภาระมีเพียง เป้หนึ่งใบที่บรรจุยาขวดน้ำหมวกเสื้อผ้าหนึ่งชุดสมุดบันทึกปากกา และไปรษณียบัตรที่เขียนถึงภรรยาทุก ๆ วันเพื่อสื่อสารว่ายังมีชีวิตอยู่

      

ความหมายของอาหารมื้อแรก

        วันแรกของการออกเดิน อ.ประมวล พบบทเรียนแรกจากการอดเมื่อถึงเขตอำเภอสันป่าตอง เกิดอาการอ่อนล้าขณะที่น้ำในกระบอกก็หมดตนรู้สึกหน้ามืดเหมือนจะเป็นลม คอแห้ง น้ำลายขม และหูอื้อไม่ได้ยินเสียงอะไรขณะนั้นเขาพบเพิงขายก๋วยเตี๋ยวซึ่งมีม้าหินขัด ตั้งอยู่จึงขออนุญาตเจ้าของเพิงขายก๋วยเตี๋ยวนั่งพักตรงนั้นและได้รับ ไมตรีจิตจากเจ้าของเพิงทำก๋วยเตี๋ยวให้ทานเมื่อทราบว่าเขาเดินเพื่ออะไร
        "ผม รู้ว่าก๋วยเตี๋ยวชามนั้นเขาเต็มใจทำจริง ๆเพราะมันเต็มชามเลย ทั้งเส้นก๋วยเตี๋ยว ทั้งลูกชิ้นทั้งอะไรที่มีอยู่เขาใส่มาจนเต็มแล้วผมก็ได้รู้ว่าการได้ทาน ก๋วยเตี๋ยวชามนั้นมันมหัศจรรย์และวิเศษที่สุดเพราะก่อนหน้านั้นผมรู้สึกว่า เพียงแค่วันแรกชีวิตของผมก็กำลังจะมอดดับสลายเสียแล้วแต่พอได้ทานก๋วยเตี๋ยว เท่านั้นเองสิ่งที่มันเฉาไป มันก็ค่อย ๆ พื้นคืนมา"

        "ผมขอบคุณคนให้ก๋วยเตี๋ยวที่ช่วยต่อชีวิตให้ผมยังได้มีต่อไปการทานอาหาร เพียงแค่มื้อแรกก็สุดแสนมหัศจรรย์กับการที่มีชีวิตอยู่เพราะมันเป็นสิ่งที่ ทำให้เราตระหนักรู้ว่าอาหารที่ทานเข้าไปนั้นมันมีความหมายมากกว่าที่เราเคย ทานมาไม่รู้สักเท่าไรและอาหารแต่ละมื้อที่ทานไปมีมิติแห่งความหมายทั้งนั้น จนผมรู้สึกเสียดายว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมากินอาหารไม่รู้กี่ร้อยกี่พันมื้อ แล้วทำไมจึงไม่ได้ความรู้สึกไม่ได้อารมณ์ประเภทนี้เลย"

 เฉียดตายเพิ่มความหมายชีวิต

         ครั้งแรก ของ ประสบการณ์เฉียดตายระหว่างการก้าวเดินของอ.ประมวล คือขาขึ้นดอยอินทนนท์ ซึ่งเขาเล่าว่าเหมือนชีวิตกำลังจะขาดรอนๆเขาใช้คำว่าเกือบปลงชีวิตเสียแล้ว เพราะทั้งใจสั่น หน้ามืดจะเป็นลมต้องล้มตัวลงนอนที่ข้างถนนปรากฎว่าไม่ตายเพราะมีรถปิคอัพ ทะเบียนชลบุรีคันหนึ่งจอดรับเขาเพื่อไปส่งถึงยอดดอยในระยะทางอีกเพียง 2 ก.ม.เท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้เขาได้เรียนรู้ความสุขจากขาลงดอยที่เปรียบได้กับขาลงของชีวิต เพราะไม่ต้องแบกน้ำหนักจากสิ่งใดๆ เท่ากับขาขึ้น

    
        ครั้งที่สอง
คือ เมื่อเดินถึงจังหวัดราชบุรีเนื่องจากวันนั้นอดข้าวมาทั้งวัน และยังต้องเดินบนถนนใหญ่ที่อากาศร้อนจัดและเต็มไปด้วยควันพิษทำให้รู้สึกวิง เวียนหูอื้อตาลาย ไม่สามารถทรงตัวได้ เขาคิดว่าตัวเองจะตายอีกครั้ง แต่ก็ยังมีคนมาพบและนำตัวขึ้นรถกระบะโดยที่อ.ประมวลพยายามพูดได้แค่เพียงคำ ว่าเพชรบุรีอยู่หลายครั้งก่อนหมดสติไป..


 บทเรียนจากเงิน 200 บาท

         บทเรียนที่ดีมากอีกครั้งหนึ่งคือเหตุการณ์ที่จ.กำแพงเพชรเมื่อชายหนุ่มคน หนึ่งจอดรถรับเขาขึ้นรถและเมื่อรู้เจตนาที่แท้จริงในการเดินก่อนจากกันจึง รีบซุกเงิน200 บาทให้ในซอกเป้ แล้วขับรถหนีไป
         "ผม พบว่าสตางค์ 200 บาทนี้เข้ามาเป็นตัวแทรกในชีวิตผมที่มหัศจรรย์มาก เพราะเมื่อเดินมาจนถึงสี่แยกสลกบาตร จ.กำแพงเพชร ผมเกือบยอมจำนนต่อความหิวกระหายและนำเงิน 200 บาทที่ได้มานั้นไปซื้อน้ำดื่มแต่เผอิญโชคดีที่ไฟเขียวตรงสี่แยกนั้นขึ้นมา ก่อน ผมเลยรีบวิ่งออกไปจากตรงนั้นคนขับมอเตอร์ไซค์คงนึกว่าผมรีบวิ่งข้ามถนนแต่ ความจริงผมรีบวิ่งหนีอารมณ์ตัวเองที่อ่อนแอมากเพียงแค่มีเงิน200 บาทอยู่ในกระเป๋าทำให้ผมเกือบพ่ายต่อปฏิญญาที่ตัวเองวางไว้"


  คืนดินสู่ผืนดินเกิด

        วินาทีที่ถึงจุดหมายปลายทางเกาะสมุย อ.ประมวลเคยเล่าว่าไปถึงเรือข้ามฟากบ้านดอน-เกาะสมุยในวันที่ 24 ม.ค.2549 ขณะนั้นมีความรู้สึกดีใจเป็นล้นพ้น เมื่อเดินจากสะพานไปเหยียบแผ่นดินเกาะสมุ ย ตนก้มลงสัมผัสแผ่นดินที่เกาะสมุยด้วยความรู้สึกดีที่สุด วัน นั้นเป็นวันที่ฝนตก ก้มศีรษะลงไปไม่ถนัด ต้องใช้มือจับแผ่นดินแล้วเอามาวางที่กระหม่อมตัวเอง มือเปียกน้ำที่เอามาสัมผัสกับศีรษะสะดุ้งด้วยความรู้สึกที่มหัศจรรย์ จากนั้นจึงเดินกลับบ้าน คุกเข่าลงในที่ที่เป็นบันไดบ้านเดิม และนำดินที่เก็บมาจากไต้ถุนบ้านเมื่อตอนออกจากบ้านอายุ18ปี มาคืนยังที่เดิม ตนรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูกและร้องไห้ เป็นอารมณ์ที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เสียงป้าที่เรียกให้ไปอาบน้ำแล้วมากินข้าวก็ทำให้ตนรู้สึกถึงการกลับบ้าน จริง ๆ อีกครั้ง
   รับมือกับความท้อแท้

        เมื่อถามถึงความท้อแท้ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง เขาตอบว่าความท้อเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะตนมีหลักเกณฑ์ในการกำจัดความท้อแท้อยู่แล้ว เนื่องจากก่อนออกเดินทางตนทราบว่าอะไรคืออุปสรรคที่จะมารบกวน ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกท้อแท้ หวาดกลัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเขาจึงเตรียมจิตให้ไม่ว่อกแว่กกับเรื่องในอดีตซึ่งจะทำให้เกิดความ ห่วงใยผูกพันและไม่ปรุงแต่งเรื่องในอนาคตที่ทำให้รู้สึกคาดหวัง และกดดันท้อแท้ พร้อมตั้งจิตเป็นเชิงอธิษฐานว่าจะ ก้าวทีละก้าวด้วยจิตใจที่เบิกบาน กับอารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน Smile

  มื้อที่อดสอนมื้อที่อิ่ม

       "เคยอดข้าว นานที่สุดเกือบ 2 วันเต็ม ผมพยายามเรียนรู้อารมณ์ที่เกิดจากการอดว่าเริ่มจากการกระหายหิวซึ่งเป็น เรื่องปรกติเมื่อเราไม่ได้กินอาหาร ทำให้ได้ไคร่ครวญว่าการมีอาหารกินเป็นสิ่งมีค่าประเสริฐมาก เพราะฉะนั้นต่อไปถ้าได้มีอาหารกินจะต้องรู้ค่าของการกินอาหาร และรู้ค่าของอาหาร นอกจากนั้นความรู้สึกกลัวอันตรายในภาวะที่ไม่ได้กินอาหารยังทำให้ตระหนักรู้ ว่าถ้าร่างกายของเราจะจบลงเพราะไม่มีอาหารกิน ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ากลัวอะไร เพราะเป็นไปตามความปรารถนาของตนที่ต้องการเดินจนกว่าชีวิตจะหาไม่แล้ว

        อย่างไรก็ตาม วินาทีที่ฝืนเดินจนเหนื่อยแทบขาดใจตายก็ได้สอนให้เขาเรียนรู้อีกครั้งว่าการ เดินให้ตายไม่ใช่สิ่งประเสริฐอะไรเลยเพราะ ครั้งหนึ่งเคยเดินด้วยความรู้สึกที่อยากก้าวย่างจนถึงวาระจิตสุดท้าย แต่ปรากฎว่ายังไม่ยอมตาย จึงพบว่าความจริงแล้วตนไม่ควรหยาบคายต่อร่างกายของตัวเอง แต่ควรดูแลและทนุถนอมร่างกาย เพื่อเดินด้วยจิตใจที่เบิกบานจะดีกว่า

        ถ้าร่างกายนี้มีความจำเป็นต้องหยุดพักเราก็ต้องพัก เพราะ ร่างกายเป็นอุปกรณ์ที่ให้เราใช้เหมือนเราขับรถ ถ้ารถร้อนจัดเราก็ต้องหยุดให้รถคลายความร้อน แต่ถ้ายังฝืนขับไป รถอาจจะร้อนจนน็อกไปซึ่งวิธีทำเช่นนั้นไม่ใช่เป็นวิสัยของคนขับรถที่ฉลาด เลย"



ถูกครหาว่าสุดโต่ง

       “ผมไม่ได้ คิดถึงเรื่องสุดโต่ง เพราะผมไม่ได้ปฏิเสธสิ่งที่มันอยู่ขั้วตรงกันข้าม ผมไม่ได้ปฏิเสธการมีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบาย แต่คิดว่าในขณะหนึ่งเราควรเรียนรู้ว่าชีวิตที่มันอยู่คนละขั้วนี่มีความ หมายอย่างไร เช่น เราตระหนักถึงความหิวเพื่อรู้ค่าของความอิ่ม เราเรียนรู้การเหน็ดเหนื่อยเพื่อรู้ค่าของการได้หยุดพัก เพราะฉะนั้นเวลาเดินไปเราจะรู้เลยว่าการได้หยุดพักก็เป็นคุณค่าอันประเสริฐ สำหรับการเดินทางเราจะไม่สามารถเดินทางได้ถึงเป้าหมายเลย ถ้าไม่มีโอกาสหยุดพัก เพราะฉะนั้นการหยุดพักก็เท่ากับการเดิน การเดินเท่ากับการได้หยุดพัก และ ถ้าเดินถึงเป้าหมายก็ต้องขอบคุณทุก ๆ ก้าว ทั้งที่ขณะก้าวย่างและขณะที่ก้าวหยุดเมื่อผมเดินถึงบ้าน จึงต้องขอบคุณชีวิตของผมที่มีทั้งสุข ทุกข์ สำเร็จ ล้มเหลว




 จิตงดงามคือความสุข

        "สิ่งที่ ได้รับจากการก้าวเดินเพียงต้องการบอกทุกคนว่าความจริงแล้วความสุขเป็นสิ่ง ที่ง่ายมาก เพียงแค่เรามีจิตที่งดงาม เพียงแค่เรามีจิตที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่นการกระทำของเราก็จะเป็นไปเพื่อความ เกื้อกูลซึ่งการเกื้อกูลเป็นสิ่งที่งดงามมาก
        แม้กระทั่งบางครั้งที่ผมเดินผ่านกลุ่มเด็กวัยรุ่นแก๊งค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง คิดว่าผมเป็นคนบ้าและอยากจะแกล้งคนบ้าเพื่อความสนุกสนาน ผมก็คิดว่าถ้าผมเป็นคนบ้าแล้วเขาสนุก ผมก็ควรจะเป็นคนบ้า แกล้งทำเป็นบ้าตกใจกลัว เขาก็หัวเราะเอิ๊กอ๊ากแล้วขี่มอร์เตอร์ไซค์ซิ่งไป แน่นอนตรงนี้อาจจะมีคนตำหนิว่าวัยรุ่นเหล่านั้นไม่รู้จักการให้เกียรติผู้ อื่น แต่ผมเข้าใจว่าเขามีอารมณ์อย่างนั้นเพราะอยากสนุก แล้วทำไมล่ะ เราไม่สามารถจะเป็นคนบ้าเพื่อความสนุกของเขาได้หรืออย่างไรมันยากอะไรนักหนา ที่เราจะเป็นคนบ้า แล้วผมก็มีความสุขที่เห็นเขามีความสุขที่ได้แหย่คนบ้าเล่น หรือ บางครั้งเราจะเป็นคนโง่ก็ได้ ถ้าการโง่ของเราทำให้ผู้อื่นเขารู้สึกเขามีค่าขึ้นน่ะครับ"

   Credit : http://www.dhammajak.net/dhammabox-2/35.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น